ศาลเยาวชนและครอบครัวกับข้อจำกัดในการดำเนินคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ เด็กที่มีความหลากหลายทางเพศ
Juvenile and Family Court and restrictions on Well-being Protection case ofChild Gender Diversity
คำสำคัญ:
ศาลเยาวชนและครอบครัว, การดำเนินคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ, เด็กที่มีความหลากหลายทางเพศบทคัดย่อ
ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอีกหนึ่งบทบาทหน้าที่ คือ มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในคดีคุ้มครองสวัสดิภาพ ซึ่งเป็นคดีที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆในทางศาลเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยกฎหมายคุ้มครองเด็ก กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือบุคคลในครอบครัว ซึ่งปัจจุบันกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติในลักษณะที่กว้างโดยกล่าวถึงเด็กในลักษณะทั่วไปและการกระทำความรุนแรงในครอบครัวหรือการกระทำทารุณกรรมก็เป็นการกระทำในลักษณะเหตุทั่วไปด้วยเช่นกัน แต่ปัจจุบันพบว่าเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว หรือถูกปฏิบัติโดยมิชอบหรือทารุณกรรมด้วยเหตุที่เด็กนั้นเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศทั้งจากสถานศึกษาและสถานที่อื่นๆมีเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่พบว่ามีการร้องขอเพื่อดำเนินคดีคุ้มครองสวัสดิภาพกรณีที่เด็กที่มีความหลากหลายทางเพศถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวหรือถูกปฏิบัติไม่ชอบหรือถูกทารุณกรรม
จากการศึกษา พบว่า บทบัญญัติของกฎหมายทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ไม่ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนในกรณที่เด็กที่มีความหลากหลายทางเพศถูกกระทำความรุนแรงจากครอบครัวหรือถูกปฏิบัติโดยมิชอบหรือถูกทารุณกรรมด้วยเหตุที่เป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือมีวิถีทางเพศหรืออัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากบุคคลอื่นซึ่งถือว่าเป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้ไม่มีคดีคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศมาสู่ศาลเยาวชนและครอบครัว
References
จิราวัฒน์ แช่มชัยพร. (2551).การคุ้มครองสิทธิเด็กโดยหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กตามมาตรา 3 (1) แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989. “วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุษกร สุริยสาร. (2557).อัตลักษณ์และวิถีทางเพศในประเทศไทย.โครงการส่งเสริมสิทธิความหลากหลายและความเท่าเทียมในโลกของการทำงาน (PRIDE).สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ ประจำประเทศไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตรยประชาชนลาว. 17.
มาตาลักษณ์ เสธเมธากุล. (2562).หลักการคุ้มครองสิทธิเด็กภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับประโยชน์สูงสุดของเด็ก.พิมพ์ครั้งที่ 1. งานวิจัยได้รับทุนสนันสนุนจากกองทุนวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. บริษัทโรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด : กรุงเทพมหานคร.
อารยา สุขสม. (2559).สิทธิมนุษยชนในเรื่องวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศในระบบกฎหมายไทย.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558
Committee against Torture, General Comment No. 2 : Implementation of article 2 by States Parties, CAT/C/GC/2, 24 January 2008, para.21.Convention on the Rights of the Child. 1966.
Report of the Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights, "United Nations strategies to combat racism and racial discrimination : past experiences and present perspective,” Background paper prepared by Mr.Theodor van Boven, member of the Committee on the Elimination of Racial Discrimination, in accordance with paragraph 51 of Commission Resolution 1998/26, E/CN.4/1999/WG.1/BP.7, 26 February 1999.
United Nations Independent Expert on protection against violence and discrimination based on sexual orientation and gender identity Country visit to the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland (24 April – 5 May 2023)
CONSTITUTION ACT. 1982. สืบค้นจาก :https://laws-lois.justice.gc.ca/eng/const/page-12.html (24 มิถุนายน 2566)
Human Rights Code. R.S.O. 1990. c. H.19. สืบค้นจาก : https://www.ontario.ca/laws/statute/90h19/v8 (24 มิถุนายน 2566)
Unicef. “What is the Convention on the Rights of the Child?, สืบค้นจาก : https://www.unicef.org/thailand/what-is-crc (20 ตุลาคม 2566)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์