การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
An Evaluation of Master of Education Program in Curriculum and Instruction (Revised Edition in 2019) Using CIPP Evaluation Model
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตร , รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ , หลักสูตรบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ ที่มีการประเมิน 4 ด้านได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 104 คน ประกอบด้วย 1) อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 14 คน 2) นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 30 คน 3) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 30 คน และ 4) ครูพี่เลี้ยงนักศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใซ้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินหลักสูตร สำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตร และนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา และ 2) แบบประเมินหลักสูตร สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และครูพี่เลี้ยง วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
- ด้านบริบท ผลการประเมินระดับความคิดเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตรและนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ( =4.45,SD =0.10), ( =4.39, SD=0.16) ตามลำดับ
- ด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินระดับความคิดเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตรและนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ( =4.39, SD=0.10), ( =4.32, SD =0.52) ตามลำดับ
- ด้านกระบวนการ ผลการประเมินระดับความคิดเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ( =4.33, SD=0.10) และนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดและมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ( =54, SD=0.11)
References
จิราภรณ์ เหมพันธ์. (2561). การประเมินหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนา หลักสูตรและการเรียนการสอน ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556 โดยใช้รูปแบบซิปป๋. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 10 (ฉบับพิเศษ) มิถุนายน-กันยายน 2561 : 213-221.
นิธิดา อดิภัทรนันทิ. (2560). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอน และเทคโนโลยีการเรียนรู้ แขนงวิชาการสอนภาษาอังกฤษ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่”. Veridian E-Journal, Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ). 10(1) มกราคม-เมษายน 2560 : 709-720.
รัชกาลที่ 9 กับการศึกษาไทย. (2565). ธ สถิตในดวงใจตราบนิรันดร์. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/news/402536. (15 มิถุนายน 2565).
พอเจตน์ ธรรมคิริขวัญ ธารทิพย์ ขุนทอง และ ธรรมรัตน์ เรือนงาม. (2564). การประเมินหลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(2) กุมภาพันธ์ 2565 : 16-31.
Ornstein, A. c. and Hunkins, F. p.. (2014). Curriculum Foundations, Principles, and Issues. (6th Ed.). USA : Pearson Education Limited.
Tait, A. and Faulkner, D.. (2016). Edupreneur : Unleashing Teacher–led Innovation In Schools. Melbourne : John Wiley & Sons Australia, Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์