การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน รายวิชาสุนทรียศาสตร์เบื้องต้น โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา
The Development of Creativity and Satistaction on Learning introductory Aesthetics course using CIPPA model of the 2nd year students at Nakhonratchasima College
คำสำคัญ:
ความคิดสร้างสรรค์, การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนในรายวิชาสุนทรียศาสตร์เบื้องต้น 2) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรายวิชาสุนทรียศาสตร์เบื้องต้น โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนสอนเรื่องสุนทรียศาสตร์เบื้องต้นโดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา จำนวน 4 แผน ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบ ซิปปา จำนวน 3 ชุด ใช้ในการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ที่มีค่าดัชนีความคิดสร้างสรรค์ IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบ ซิปปา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา ที่มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 0001214 สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสถิตินอนพาราเมตริก (Non-parametric Statistics) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา ในการเรียนรายวิชาสุนทรียศาสตร์เบื้องต้นโดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยนครราชสีมา ที่มีในการเรียนรายวิชาสุนทรียศาสตร์เบื้องต้น โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา โดยภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
References
ไกรษร ประดับเพชร. (2561). ความพึงพอใจ. งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สพฐ. ปีงบประมาณ 2561.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี.ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่17. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดล ซิปปาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1วิทยานิพนธ์,การศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2561.
ปิยฉัตร ศรีสุราช. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 วิทยานิพนธ์.หลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 2561.
ปภาวรินท์ ณ พัทลุง. (2564). การอนุรักษ์และพัฒนานาฏยศิลป์ของภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (2021): วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 2564:422
ประวิทย์ ฤทธิบูลย์. (2560). การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ไทย โดยใช้โมเดลซิปปาได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏศิลป์ไทย โดยใช้โมเดลซิปปา วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะปีที่ 18 ฉบับที่ 2 (2017): มกราคม - มิถุนายน 2560.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2555). วิธีการวิจัยทางการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง.
ภัททิรา เงาะลำดวน. (2560). การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ท่ารำประกอบบทเพลงด้วยการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้รูปแบบซิปปา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 วิทยานิพนธ์.คณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ.
อภิชาติ เนินพรหม. (2559). ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อ เสริมสร้างความสามารถทางการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ มหาวิทยาลัยบูรพามิถุนายน 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์