“การประสมคำ” : ความหมายของคำและข้อสังเกตบางประการจากมุมมองการศึกษาคำประสมในภาษาไทยด้วยวิธีการสร้างคำแบบไทย

“Compounding the words”: definition of words and some observations from the study of compound words in the Thai language through the formation of the Thai words.

ผู้แต่ง

  • สุวัฒชัย คชเพต อาจารย์, สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • รัตนชัย ปรีชาพงศ์กิจ อาจารย์, สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การสร้างคำประสมในภาษาไทย, การสร้างคำ, คำจำกัดความของคำ

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้กล่าวถึง 2 ประเด็น ดังนี้ 1) ความหมายของคำตามแนวหลักภาษาไทยกับความหมายของคำตามแนวภาษาศาสตร์ และ 2) มุมมองที่หลากหลายและข้อสังเกตบางประการของการศึกษาคำประสมในภาษาไทยด้วยวิธีการสร้างคำแบบไทย ผลการศึกษาพบว่าความหมายของ “คำ”ตามแนวหลักภาษาไทยและความหมายของ “คำ” ตามแนวภาษาศาสตร์ ต่างก็พิจารณา “คำ” ว่าเป็นส่วนที่เล็กที่สุดที่มีความหมายปรากฏตามลำพังได้ แต่ใช้ศัพท์เฉพาะในการอธิบายต่างกัน นอกจากนี้ในภาษาไทยมีวิธีการเพิ่มคำใช้ด้วยการสร้างคำ จึงทำให้เกิดการสร้างคำจากคำเดิมในภาษาไทยมาใช้ในระบบภาษากันอย่างแพร่หลาย แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีเทศกับวิธีไทย ดังที่ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตได้ทั้งหมด 7 ประการ คือ 1) ได้จากการยกตัวอย่างคำว่า “ดำ ๆ แดง ๆ เร็ว ๆ ช้า ๆ” และ “ถ้อยคำ ดูแล ว่ากล่าว” เมื่อเทียบกันกับคำจำกัดความการสร้างคำด้วยวิธีไทยในปัจจุบัน ลักษณะของตัวอย่างที่กล่าวมานี้จะเป็นคำซ้ำและคำซ้อนไม่ใช่คำประสม 2) คำประสมที่มักใช้ประกอบข้างหน้า เช่น “ชาว- นัก- ผู้-” จะแยกใช้เฉพาะเป็นคำโดด ๆ ไม่ได้ จำเป็นต้องใช้ประสมกับคำอื่นเสมอ 3) ตามวิธีการสร้างคำในปัจจุบันกลับพบว่าไม่นำวิธีการสมาสสนธิกัน (วิธีเทศ) มาใช้เป็นวิธีการประสมคำด้วยวิธีไทย 4) คำประสมตามลักษณะการอธิบายวิธีการสร้างคำจะอาศัยการทำหน้าที่ของคำเป็นหลัก 5) เมื่อเทียบกับวิธีการสร้างคำด้วยวิธีเทศ คำว่า “มหาสมุทร” จะเป็นคำสมาสที่เกิดจากคำว่า “มหา-” สมาสกับคำว่า “-สมุทร” กลายเป็นคำสมาสว่า “มหาสมุทร” ซึ่งคำสมาสนี้ถือเป็นคำประสม 6) การแปลง เมื่อเทียบกับหลักการในภาษาไทยแล้วหน่วยคำที่นำมาเติมหน้าหรือหลังจะเป็นหน่วยคำที่มีรูปภาษาพ้องกับหน่วยคำอิสระที่มีความหมายได้ แต่หากนำมาประสมคำโดยเรียงคำหลักและคำขยายจะไม่สามารถบอกหน้าที่ของคำได้ และ7) คำประสมที่สร้างด้วยวิธีไทยจะเกิดจากการนำหน่วยคำอิสระสองหน่วยคำขึ้นไปมาประสมกันให้เกิดเป็นโครงสร้างของคำที่ใหญ่ขึ้น และหน้าที่ของคำจะหลอมรวมกันเป็นคำชนิดเดียวกัน

References

กุณฑีรา กวักเพฑูรย์ คุโนลด์. (2549). เทคนิคการจดจำ การแปลคำศัพท์ อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.

กำชัย ทองหล่อ. (2556). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดรวมสาส์น.

บรรจบ พันธุเมธา. (2562). ลักษณะภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประยูร ทรงศิลป์. (2553). หลักและการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พระยาอุปกิตศิลปสาร. (2548). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

พระวรเวทย์พิสิฐ. (2505). หลักภาษาไทย. พระนคร : โรงพิมพ์วิทยาลัยเทคนิค.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). ศัพท์ภาษาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : นาน-มีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ราตรี ธันวารชร. (2551). การสร้างคำในภาษาไทยสมัยอยุธยา : วิธีสร้างคำประสม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ลัดดาวัลย์ เพิ่มเจริญ. (2558). “ระบบคำ”. ใน ดียู ศรีนราวัฒน์ และคณะ. ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิจินต์ ภาณุพงศ์. (2543). โครงสร้างภาษาไทย : ระบบไวยากรณ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2533). ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนันท์ อันชลีนุกูล. (2562). ระบบคำในภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี สิงห์น้อย. (2548). คำนามประสม ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างคำไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Akmajian, A. et al. (1995). Linguistics. (4th ed.). Cambridge, Mass.: The MIT Press.

Bloomfield, L. (2005). Language. Delhi: Motilal Banarsidass Publishers Private Limited.

Fasold, R. W. and Jeff, C. (2006). An Introduction to Language and Linguistics. Cambridge: Cambridge University Press.

Noss, R. B. (1964). Thai Reference Grammar. Bangkok: English Language Center of the University Development Commission.

Palmer, F. R. (1976). Semantics. Cambridge: Cambridge University Press.

Singnoi, U. (2000). Nominal Constructions in Thai. Ph.D. dissertation, University of Oregon.

Stageberg, N. C. (1977). An Introductory English Grammar. (4th ed.). New York: Holt, Rinehart and Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite