การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี

Development of the Quality of Life of People in Ratchaburi Province

ผู้แต่ง

  • ศุภสวัสดิ์ วัฒนะคุณโชติ นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ภมร ขันธะหัตถ์ รองศาสตราจารย์ ดร., มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนิศร ยืนยง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล, การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่, ภาวะผู้นำ, คุณภาพชีวิตของประชาชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดราชบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่และภาวะผู้นำของผู้บริหารท้องถิ่น ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดราชบุรี เป็นวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. คุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย ด้านสุขภาพ ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ด้านชีวิตในชุมชน ด้านชีวิตด้านการใช้สติปัญญา ด้านชีวิตการทำงาน และด้านชีวิตครอบครัว ตามลำดับ

          2. หลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ และภาวะผู้นำของผู้บริหารท้องถิ่น ด้านการเสริมระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกัน การสร้างความเป็นเลิศในการให้บริการประชาชน ความซื่อสัตย์อย่างจริงใจ การสร้างความพร้อมของระบบราชการไทย การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ของภาครัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด หลักตอบสนอง การพัฒนาตนเอง การวางระบบการบริหารงานราชการแบบบูรณาการ และการกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          3. รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนในเรื่อง การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล การจัดการภาครัฐแนวใหม่ โดยกำหนดเป็นนโยบายหรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ส่งเสริมและให้ความรู้กับผู้นำท้องถิ่น และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวและการพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

References

กัลยรัตน์ สุนทรสวัสดิ์ ,ภมร ขันธะหัตถ์ และ ธนิศร ยืนยง.(2565).ภาวะผู้นำของผู้บริหารท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการจัดทำแผนพัฒนาของเทศบาลในจังหวัดสระบุรี.วารสารรัชต์ภาคย์.16(49),420-434

ดารุณี จงอุดมการณ์. (2551)

. การพัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของประชาชนครอบครัวชุมชนในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา. (2557). การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้นำองค์กรนิสิต/นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2557-2566). ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ปรางทิพย์ ภักดีศรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ หมู่ 11 ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศยาภรณ์ มีแสงแก้ว. (2565). การจัดการภาครัฐแนวใหม่และหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลตำบล ในจังหวัดเพชรบูรณ์. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สนุพงษ์ จิรชวาลวสิุทธ์ิ,จ่าสิบเอก. (2558). ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของนายทหารประทวน ค่ายภาณุรังษีจังหวดัราชบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

สถาบันพระปกเกล้า. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักบริหารงานทะเบียน.(ออนไลน์). รายงานจำนวนประชากร.กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2564 สืบค้นจาก

https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพฯ : บริษัท พรีเมียร์ โปร จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2556–2561). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด.

Barzelay, M. (2002). Origins of the New Public Management: An International View from Public Administration/Political Science. In MClaughlin, Orsborne and Ferlie (ed.). New Public Management Current trends and future prospects.

Bloom B S. (2005). Learning for Mastery, The Evaluation Comment. In All Our Children Learning, McGraw-Hill.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.

ESCAP. (1990). Guidelines on Methodological Approaches to the Conduct of a Regional survey of The Quality of Life as an Aspect of Human Resources Development. New York.

Hood, C. & Jackson, M. (1991). The new public management: A recipe for disaster. Canberra bulletin of public administration, 16-24.

Kimmet, P. (2005). The Politics of Good Governance in the ASEAN 4. Master Degree : Griffith University.

Kouzes, J. M. & Posner, B. Z. (2007). The leadership challenge. San Francisco: Josser-Bass Publisher

Ferrans, C. E., Zerwic, J. J., Wilbur, J. E., & Larson, J. L. (2005). Conceptual Model of Health Related Quality of Life. Journal of Nursing Scholarship, 37(4).

John W. Best.(1981). Research in Education, 4 th ed. New Jersey : Prentice – Hall Inc., 1981, p. 182.

Richards, D. & Engle, S. (1986). “After the Vision : Suggestions to Corporate Visionaries and Vision Champions.” In J.D. Adams. (Ed). Transforming Leadership, Alexandria, VA : miles River Press.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite