การพัฒนาท้องถิ่นที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี

Local Development Affecting the Life Quality of People in Ratchaburi Province

ผู้แต่ง

  • สาริณี มะลิลา นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ภมร ขันธะหัตถ์ รองศาสตราจารย์ ดร., มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนิศร ยืนยง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาท้องถิ่น, คุณภาพชีวิตของประชาชน, การมีส่วนร่วมของประชาชน, ธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดราชบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาท้องถิ่นที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดราชบุรี และ(3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดราชบุรี เป็นวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. คุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและความปลอดภัย ด้านสุขภาพ ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ด้านชีวิตในชุมชน ด้านชีวิตด้านการใช้สติปัญญา ด้านชีวิตการทำงาน และด้านชีวิตครอบครัว ตามลำดับ

          2. การมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ หลักตอบสนอง หลักประสิทธิผล ความสามารถ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล หลักประสิทธิภาพ หลักความเสมอภาค หลักมุ่งเน้นฉันทามติ ความสามารถทางสติปัญญา และหลักนิติธรรม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดราชบุรี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การให้ความรู้และสร้างการรับรู้ที่แท้จริงของประชาชน และนำการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลมาใช้อย่างเที่ยงตรงและเป็นธรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ควรสร้างผู้นำที่มีความรู้ความเข้าใจ เช่น ที่ปรึกษาชุมชน ซึ่งนอกเหนือจากกำนันและผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลายนำมาประยุกต์ให้เกิดการมีส่วนร่วมและพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2552.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.(ออนไลน์). แผนพัฒนาจังหวัดราชุรี. (2561-2564). สำนักงานจังหวัดราชบุรี. สืบค้นจาก https://ratchaburi.industry.go.th/web-upload/migrated/files/2016_microsite_ratchaburi/319_cms_file_11615_article_file.pdf

พิทยา บวรวัฒนา. (2558).รัฐประศาสนศาสตร์ :ทฤษฏีและแนวการศึกษา (ค.ศ.1887-ค.ศ.1970). พิมพค์รั้งที่ 19.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บุษกร วัฒนบุตร, 2559.การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21.วารสารธรรมทัศน์,16(2),163-174

สาคร สุขศรีวงศ์. (2551).การจัดการ:จากมุมมองนักบริหาร(Management from the Executive’s Viewpoint).กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนุพงษ์ จิรชวาลวสิุทธ์ิ,จ่าสิบเอก. (2558). ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของนายทหารประทวน ค่ายภาณุรังษีจังหวดัราชบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

สำนักบริหารงานทะเบียน.(ออนไลน์). รายงานจำนวนประชากร.กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2564 สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพฯ : บริษัท พรีเมียร์ โปร จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ20ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพฯ.

Cohen, John M. and Uphoff, Norman T. (1977). Rural Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. In Rural Development Monograph No. 2, The Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.

ESCAP. (1990). Guidelines on Methodological Approaches to the Conduct of A Reginal Survey of the Quality of life as on Aspect of Human Researches Department.

Franklyn Lisk. (1985). Popular Participation in Planning for Basic Needs: Concepts, Methods and Practices. Hants, Gower.

G. Roos and J. Roos. (1999). Measuring Your Company’s Intellectual Performance. Long Range Planning, Vol.3

Hyun, H. S. (2010). Human Capital Development. ADB Economic Working Paper Series No.225 Asian Development Bank.

John W. Best.(1981), Research in Education, 4 th ed. New Jersey : Prentice – Hall Inc., , p. 182.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.

UNESCO. (1981). Quality of Life: Problems of Assessment and Measurement. Socio-economic Studies 5. Paris: UNESCO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite