ประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี

Effectiveness of Local Development in Saraburi Province

ผู้แต่ง

  • นิตฐพร โพธิ์รักษา นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ภมร ขันธะหัตถ์ รองศาสตราจารย์ ดร., มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนิศร ยืนยง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น, การมีส่วนร่วมของประชาชน, บทบาทผู้บริหารท้องถิ่น, หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดสระบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของประชาชน บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่น และหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดสระบุรี และ(3) เพื่อเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดสระบุรี เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. ประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ประกอบด้วยด้านการท่องเที่ยว ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและความมั่นคง ด้านเกษตรกรรม และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ

          2. บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่น และหลักธรรมาภิบาล ด้านกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน หลักประสิทธิภาพ หลักการมีส่วนร่วม หลักภาระรับผิดชอบ การร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติงาน หลักการกระจายอำนาจ การร่วมลงมือปฏิบัติในโครงการที่ได้คัดเลือกร่วมกัน พัฒนาพลัง และปฏิบัติการร่วมกัน ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดสระบุรี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          3. ผู้บริหารท้องถิ่นควรกำหนดกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของของประชาชน เน้นย้ำการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลให้กับบุคลากรและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอยู่เสมอ จะนําไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อไป

References

จักรีศรี จารุเมธีญาณ. (2550). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตอีสาน.

ธนากร สังเขป. (2558). บทความทางวิชาการ ประกอบการบรรยายในการสัมมนา เรื่อง ทิศทางการพัฒนาชุมชนไทยในอนาคต. สืบค้นจาก www.franchisecb.com.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต.(2553).การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม:ประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ.กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์ พิมพ์ครั้งที่ 3.

วริศรา สมทรัพย์. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วน ตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, , มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตร์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2554). การเมืองไทยระบบหรือคน : การพัฒนาวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 9(3).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพฯ : บริษัท พรีเมียร์ โปร จำกัด.

สำนักงานจังหวัดสระบุรี.(2561).แผนพัฒนาจังหวัดสระบุรี (พ.ศ. 2561 – 2565) ฉบับทบทวน. สืบค้นจาก https://www.opsmoac.go.th/saraburi-action_plan-files-422791791796

สำนักงานสถิติ.(2564).สถิติและประชากรศาสตร์.สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Fritzen, S.A. (2000). Decentralization and Local Government Performance: A Comparative Approach with Application to Social Policy Reform in Vietnam. On line, from: http://www.lib.ume.com/dissertations/fullcit/9957095.

Marcus B. Lane. (2006). Public Participation in Planning: An Intellectual History. Journal Australian Geographer, 36(3).

Miniclier, Louis. (1956, December). Community Development Defined. The Community Development Review of I.C.A. 3.

Sandmann, L. R., & Vandenberg, L. (1995). A Framework for 21st Century Leadership. Journal of Extension, 33(6).

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.

WHO and UNICEF (1978). Report of the International Conference on Primary Health Care. New York: N.P.Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite