ประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Effectiveness of Local Development in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
คำสำคัญ:
ประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น, การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, การมีส่วนร่วมของประชาชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ(3) เพื่อศึกษาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวิจัยผสานวิธีระหว่างเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านการบริหารกิจการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้านการส่งทุนและพาณิชยกรรม ด้านการท่องเที่ยว ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสิ่งแวดล้อม และ ด้านการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและรักษาความสงบเรียบร้อย ตามลำดับ
2. หลักนิติธรรม หลักการกระจายอำนาจ ร่วมประเมินค่ากิจกรรมต่างๆ ร่วมวางแผนและดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำที่ใช้ปัญญา ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผู้นำควรส่งเสริมการนำหลักนิติธรรม มาใช้ในการปฏิบัติงาน มีการพัฒนาศักยภาพความมีภาวะผู้นำอยู่เสมอ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามสถานการณ์ปัจจุบัน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิผลยิ่งขึ้น
References
กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์, สมชนก ภาสกรจรัส, และ ศักดา ศิริพันธ์. (2555). รายงานการศึกษาโอกาสการค้า การพัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัชรินทร์ อินทพรหม.(2557).การปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ: ประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย,วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร,ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 หน้า 176 - 189
พิเชษฐ์ ภู่เฉลิมตระกูล. (2561). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์. สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ.
พีรพล ไชยณรงค์ศักดิ์. (2563). ประสิทธิผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พีรพัฒน์ เก้ากัญญา. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับประสิทธิผลในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยด้วน อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ศยาภรณ์ มีแสงแก้ว. (2565). การจัดการภาครัฐแนวใหม่และหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลตำบล ในจังหวัดเพชรบูรณ์. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. เอกสารการประชุมนโยบายจังหวัด.
สํานักบริหารการทะเบียนกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. 2564. สถิติประชากร.[ระบบ ออนไลน์].http:// https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การจัดระดับการก ากับดูแลองค์กรภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
สนุพงษ์ จิรชวาลวิสุทธิ์,จ่าสิบเอก. (2558). ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของนายทหารประทวน ค่ายภาณุรังสีจังหวัดราชบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
Burns, J.M. (1994). Leadership. New Delhi : Ambika.
Burns. (1994). Leadership. New Delhi : Ambika.
Biggs S,Smith m.(1998).Word Development 26. Beyond methodologies: Coalition-building for participatory technology development.
David Mathews. (2000). Politics for People: Finding a Responsible Public Voice. LIC.
Fevre R, (2003). Socializing Social Capital: Identity, the Transition to Work, and Economic Development," in Social Capital: Critical Perspectives. (Oxford: Oxford University Press.
Flavia, C., Valter, M., & Mateus, H., (2012). Effects of Leader Intelligence, Personality and Emotional Intelligence on Transformational Leadership and Managerial Performance. The Leadership Quarterly 23: 443–455.
Jahan, Rounaq. (2007).Transformative.Leadership in the 21st Century Columbia University, 2007.
Mohsen, A., & Mohammad, R.D., (2011). Considering Transformational Leadership Model in Branches of Tehran Social Security Organization. Social and Behavioral Sciences 15: 3131-3137.
Mushinsky, Paul M. (1997). Psychology Applied to Work an Introductions to Industrial and Organizational Psychology. California : Brooks/Cole.
Northouse, P. G. (2004). Leadership : Theory and Practice. 3 rded. Thousand Oaks, CA : Sage.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.
Timothy D. Sisk. (2001). Democracy at Local Level: The International IDEA Handbook on Participation, Representation, Conflict Management, and Governance. Sweden, Halmstad: Bulls Tryckeri.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์