วัฒนธรรมองค์กรและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความภักดีต่อองค์กรของพนักงานบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี

Corporate Culture and Work Motivation that Affects Corporate Loyalty of Employees of an Electrical Equipment Manufacturing Company in Pathum Thani Province

ผู้แต่ง

  • ฐิติรัตน์ มีมาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมองค์กร , แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน , ความภักดีต่อองค์กร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) วัฒนธรรมองค์กรบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี (2) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี (3) ระดับความภักดีของพนักงานบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี และ (4) วัฒนธรรมองค์กรและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความภักดีต่อองค์กรของพนักงานบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปฏิบัตงานในฝ่ายผลิตของบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 265 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมองค์กรด้านลักษณะการใช้อำนาจ ด้านลักษณะการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน ด้านลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านลักษณะความเป็นเพศ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและส่งผลต่อความภักดีต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 โดยส่งผลถึงร้อยละ 98.20 (R2=0.982) และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานด้านความต้องการเพื่อการดำรงชีพ ด้านความต้องการความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านความต้องการความเจริญก้าวหน้า ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านนโยบายการบริหาร และด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและส่งผลต่อความภักดีต่อองค์กรของพนักงานบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยส่งผลถึงร้อยละ 87 (R2=0.870) ผลที่ได้จากการวิจัยฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท สามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน เมื่อพนักงานมีความภักดีต่อองค์กร การหมุนเวียนเข้าออกงานของพนักงานก็จะไม่เกิดขึ้น

References

กรมการจัดหางาน. (2565). แผนยุทธศาสตร์กรมการจัดหางาน พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นจาก https://www.doe.go.th/

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สามลดา.

จรัส อติวิทยาภรณ์. (2553). หลักการและทฤษฏีทางการบริหาร. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เด่น บุญมาวงค์ และพนาวัน ถนนแก้ว. (2565). วัฒนธรรมและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กร กรณีศึกษา: วิทยาลัยทองสุข. วารสารสหวิทยาการพัฒนา. 1(1), 258-263.

ธิริญญา เพ็ญญะ .(2562). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก. วารสารสหวิทยาการวิจัย. 8(2), 153–161.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน์.

บัญชา ชัยประสานศิลป์. (2563). วัฒนธรรมองค์กรและแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานบริษัท เอฟ ดี เอส คอนเลคชั่น แอนด์ ลอร์เฟิร์ม จำกัด. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 3(2), 1-16.

ปพิชญา ศรีจันทรา และไชยา ยิ้มวิไล. (2563). แรงจูงใจและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบริษัทขนส่งแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชรี พันธุ์แตงไทย. (2564). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

เมทินี คงเจริญ และอัญชนา พานิช. (2561). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตร ฐานวิชาชีพของพนักงานครูในสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(3), 2443-2457.

รัมย์ประภา บุญทะระ และสุวัฒนา ตุ้งสวัสดิ์. (2563). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 7(2), 213-226.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี. (2565). รายงานสภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ราย 6 เดือน (มกราคม – มิถุนายน 2565). สืบค้นจาก https://pathumthani.industry.go.th/

Alderfer, C. P. (1972). Existence relatedness and growth. New York: The Free Press.

Black, K. (2010). Business Statistics for Contemporary Decision Making. 6th ed. New York: John Wiley & Sons.

Herzberg, F. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley & Sons.

Hofstede, Greet H. (1998). Culture’s Consequences: International Different in Work-Related Values. Beverly Hill: Sage Publications.

Hoy & Rees. (1974). Subordinate Loyalty to Immediate Superior: A Neglected. Concept in the Study of Educational Administration. Sociology of Education.

Maslow, A. (1970). Motivation and Personality. New York: Harpers & Row.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite