องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

Academic Leadership Components of Educational Institution Administrator under Nonthaburi Provincial Administrative Organization

ผู้แต่ง

  • ธนพลอยสิริ สิริบรรสพ สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วิบูลย์ พุ่มพูลสวัสดิ์ นักวิชาการอิสระ
  • ต้องชนะ มั่นบรรจง นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ยุคดิจิทัล, องค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

          บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาพัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (3)เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสานวิธีเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยปริมาณ   ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีรวม 68 คน จาก 34 โรงเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการศึกษา พบว่า

  1. จากการสังเคราะห์แนวคิดของภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีได้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบวิสัยทัศน์ องค์ประกอบนวัตกรรมและเทคโนโลยี องค์ประกอบสร้างแรงบันดาลใจ และองค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์
  2. วิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัล องค์ประกอบที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 72 องค์ประกอบ และมีความเหมาะสมตามเกณฑ์ มีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่า 20%3.ความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีความสอดคล้องทุกตัวบ่งชี้กับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 0.09 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้ เท่ากับ 0.97 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์เท่ากับ 0.03

References

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2558). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา: แนวคิด แนวปฏิบัติและกรณีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. (E-book) กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และคณะ. 2554. การพัฒนาการจัดการศึกษาตามแนวทางอิสลาม ระดับอุดมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). เอกสารประกอบการศึกษาด้วยตนเอง หลักสูตรผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา ตามหลักเกณฑและวิธีการพัฒนาข้าราชการครูเพื่อเขาสู่ตำแหน่งสายงานผู้บริหารในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). ห้องสมุด, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปทุมธานี: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). ห้องสมุด, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

Alpay ,Ersozlu, and Emine, Saklan, (2016,June). “Instructional Leadership in Higher Education: How Does It Work?,” in British Journal of Education. Vol 4. (No.5) : pp.1-15.

Anderson.C.A.D. (2000). The Importance of Instructional Leadership Behavior as Perceived by Middle School Teacher, Middle School Principal, and Educational Leadership Professors. Ed.D. Dissertation, Faculty of Graduate School, University of Georgia.

David C. & Thomas, D.A. (1989). Leadership in Organization. (2 nd ed). Englewood cliffs, NJ : P Hall.

Davis, Magaret A. (1989). Effective Schools and Effective Teachers. Boston : Allyn and Bacon.

Dongo, Edmore. (2016,April). “The Principal’s Instructional Leadership Role Towards CreatinEffective Teaching and Learning: A Case Study of Two Higher Schools in Ivory Park Township,” in Semantic scholar journal. Vol 9. (No.1) : pp.20-35.

Fraenkel, J. R., Wallen, N. E., & Hyun, H. H. (2012). How to design and evaluate research In Education. (8th ed.). New York Mc Graw HIll.

Hawkins, P. and Smith N. (2013, (first edition2006). Coaching, Mentoring and Organizational Consultancy: Supervision and Development. Maidenhead: Open University Press/McGraw Hill.

Irfan ,Bashir & Usman, Khalil. (2017,Spring). “Instructional Leadership at University Level in Pakistan: A Multi Variable Based Comparative Study of Leadership Styles of Heads of The Instructional Departments,” in Bulletin of Education and Research. Vol.39 (No.1), 175-186.

McEwan, E.K. (1998). Seven step to Effective Instructional Leadership. Thousand Oaks : Corwin Press.

Sullivan, S., & Glanz, J. (2009). Supervision that improves teaching and learning: Strategies and techniques. (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Corwin.

United Nations. (2023). The Sustainable Development Goals 2030. New York: United Nations.

Wildy, Helen., & Dimmock, Clive. (1993). “Instructional leadership in primary and secondary schools in Western Australia”. Journal of Educational Administration, Vol.31(No.2), 43. Retrieved January 18, 2011, from ABI/INFORM Global. (Document ID: 1064832).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite