การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี
Development of Technology Media Administration in Educational Institutions Under the Primary Educational Service Area Office Pathumthani
คำสำคัญ:
การบริหาร, เทคโนโลยีสารสนเทศ, สถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ เขต 2 จำนวน 46 โรงเรียน และผู้บริหารจำนวน 92 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การดำเนินการการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. แนวทางการพัฒนาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 4 ด้าน 12 แนวทาง ดังนี้ด้านที่ 1 การวางแผนการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 3 แนวทาง เช่น ต้องวิเคราะห์ความต้องการในปีที่ผ่านมา ทำเป็นแผนปฏิบัติงานใหม่ให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษาด้านที่ 2 การประเมินผลการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 3 แนวทาง เช่น ควรทำการทบทวนหลังการดำเนินงาน นำมาร่วมกันวิเคราะห์หาจุดบกพร่องเพื่อแก้ไขด้านที่ 3 การปรับปรุงการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 3 แนวทาง เช่น ควรวิเคราะห์ปัญหาศึกษาแนวทางพัฒนา จากนั้นคัดเลือกบุคลากรภายในที่มีความสามารถมาปรับปรุง พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านที่ 4 การดำเนินการการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 3 แนวทาง เช่น ควรทำแผนขอจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนา มีการดำเนินการตามแผนแบ่งเป็นระยะ
References
ทิพย์วรรณ โพสุวัน, ธร สุนทรายุทธ, สุรัตน์ ไชยชมภู. (2555). รูปแบบการบรหารงานเทคโนโลยี สารสนเทศทางงบประมาณของโรงเรียนในภาคตะวันออก สังกัด สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นพคุณ ลักขณาวิเชียร. (2563, 18 พฤษภาคม). รองผู้อำนวยการสานกงานเขตพนทการศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2. สัมภาษณ์.
นภัสกร ชาญณรงค์. (2554). “การบริหารจดัการเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราช, ปีที่ 30(ฉบับที่ 1), 183-192.
ปริวรรต ธงธวัช,โสภณ เพ็ชรพวง, และสมคิด นาคขวัญ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับประสิทธิผลของระบบสารสนเทศของสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
วราภรณ์ แป้นแจ้ง, และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2561).กลยุทธ์การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, Vol.9(No.2), 209-216.
วิรพล เพชรฤทธิ์ . (2558). การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://sites.google.com/site/beautynaluk321/extra-credit. (5 กันยายน 2563).
ศักดิ์ชริน อาจหาญ. (2560). การศึกษาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์.
สุธาสินี โพธิจันทร์. (2562). PDCA หัวใจสำคัญของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง. กรุงเทพฯ : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
อรุณศรี กีรติวิทยางกูร. (2559). แนวทางการบริหารจัดการการจัดแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อ พัฒนา ทักษะการแสวงหาความรู้ของผู้เรียนโรงเรียนบ้านจ้องที่สอดคล้องกับการศึกษาใน ศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์