การยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่ม แบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี

Influence on The Adoption of Technology that Affects Beverage Purchasing Decisions Process through Automated Beverage Vending Machines By Consumers in District Nonthaburi Province

ผู้แต่ง

  • วิษณุ ถิระพัฒน์ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

การยอมรับเทคโนโลยี , การตัดสินใจซื้อ , ตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี (3) เพื่อศึกษาอิทธิพล การยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภค  ในจังหวัดนนทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งไม่สามารถระบุจำนวนกลุ่มประชากรที่แน่นอนได้ จำนวน 400 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การสุ่มตัวอย่างโดยกำหนดโควตา (Quota Sampling)  ขั้นตอนที่ 2 การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความสะดวก (Convenience Sampling) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. การยอมรับเทคโนโลยีตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก                2. การตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรีโดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

          3. อิทธิพลการยอมรับเทคโนโลยีส่งผลต่อการตระหนักถึงปัญหาหรือความต้องการซื้อ, การเสาะแสวงหาข้อมูลซื้อ, การประเมินทางเลือกซื้อ, การตัดสินใจซื้อ และพฤติกรรมกรรมภายหลังการซื้อเครื่องดื่มผ่านตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติของผู้บริโภคใน จังหวัดนนทบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรวิชญ์ อิทธิสิริกุลชัย และ รสิตา สังข์บุญนาค. (2565).ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ของผู้ใช้บริการ Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565, จาก http://kowdum.com/article/fileattachs/09102022121641_f_0.pdf

ชุตินันท์ เชี่ยวพานิชย์ (2563). การยอมรับเทคโนโลยี และพฤติกรรมที่มีต่อการตัดสินใจใช้บริการ Application Grab ของเจเนอเรชั่น C ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชาลี วาระดี. (2565). ย้อนรอย "ตู้กดกาแฟหยอดเหรียญ" ที่ประเทศ "ญี่ปุ่น" ต่อยอดจนครองเจ้าตลาด. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/999409/.

ณัฐวดี ภาวนาวิวัฒน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับและการใช้เครื่องจาหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (VENDING MACHINE) ของกลุ่มมิลเลนเนียลและเจเนอเรชั่นซีในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน). (2565). ttb analytics มองธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ รายได้โตไม่ต่ำกว่าปีละ 13-15%. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566, จาก https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/vending-machine-business.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพ ฯ : สุวีริยาสาสน์.

พัทธ์ธีรา โชติช่วงปิยวัชร์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ต่อการใช้บริการตู้จำหน่ายเครื่องดื่มแบบชงอัตโนมัติ. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปาร์ค คฑาวุธ .(2566).จุดตัด ‘ตู้เต่าบิน’ โตด้วยปริมาณหรือคุณภาพ?. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566, จาก https://www.thebangkokinsight.com/news/stockfinance /stock/1058444/

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ:พิมพ์ดีการพิมพ์.

วันนา พงศ์พิสันภพ (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2565-2567: อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม.(ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565, จาก https://www.krungsri.com/th/research/.

สุธาสินี ตุลานนท์ (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์. (2562). ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการจอง โรงแรมผ่านแอพพลิเคชั่น. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(2), 56-67.

Davis, F., Bagozzi, R., & Warshaw, P. (1989). User Acceptance of Computer Technology : a Comparison of Two Theoretical Models . Management Science, 982-1003.

Dude, S., Ida, Z., Sabil., Eka, S., Vera, Y., Isnurrini, S., Imelda, S., Sofyan, M., Seno, S. & Amin, L. (2019). Decision Model Based on Technology Acceptance Model (TAM) for Online Shop Consumers in Indonesia. University of Bina Sarana Informatika Jakarta.

Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2009).Multivariate data analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ:Pearson Prentice Hall.

Juliana. Roy, S., & Melinda, M. (2022). The Effect of Marketing Mix And Technology Acceptance Model On Purchase Intention Via Vending Machine Mediated By Attitude. South East Asia Journal of Contemporary Business, Economics and Law, 26 (1). pp. 6-17. ISSN 22 89 1560

Kotler, P. & Keller, K. (2012). Marketing Management (14 th ed). New Jersey : Prentice Hall. Lauterborn.(1990).New marketing litany: Four Ps passe: C- words take over. Advertising Age, 61(41), 26.

Marketeer Online (2563). 28 ปีผ่านไป เวนดิ้งแมชชีน ถึงฮิต.(ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2565, จาก https://marketeeronline.co/archives/196094/.

Rabbani, A. R., & Musa, S. (2020). The Relationships of Trust, Product Attractiveness, and Technology Features Towards Technology Acceptance Model in The Case of Vending Machine. Doctoral Dissertation, Swiss German University.

Zikmund, W. G. et al.. (2010). Business research methods (8th ed.). Australia: South Western Cangage Learning

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite