ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับ การใช้คำถามปลายเปิด ที่มีต่อความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง จังหวัดระยอง
The Effects of Cooperative Learning Activities Management with STAD Technique and Open Ended Problems on Mathematical Communication Ability and Attitude Towards Mathematics in the Topic of Conic Section of Grade 10 Students at Srinagarindra the Princess Mother School, Rayong in Rayong Province
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD , คำถามปลายเปิด , ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์, เจตคติต่อคณิตศาสตร์ , มัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์กับเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิด และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิดกับกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 56 คน แบ่งเป็น 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิด เรื่อง ภาคตัดกรวย 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ภาคตัดกรวย 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ภาคตัดกรวย และ 4) แบบสอบถามเจตคติต่อคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์กับเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิด มีความสัมพันธ์ทางบวก ขนาดความสัมพันธ์สูงมาก (r = 0.734, p < .05) และมีจริงโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความแปรปรวนร่วมกันร้อยละ 53.88 2) ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ณัฏฐ์ชญา อินพูลวงษ์. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เจตคติต่อคณิตศาสตร์ และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ณัฐสุดา เพ็งสร้อย, จุรีรัตน์ อาจหาญ, วรุฒ หล้าบือ, วริญญา พงษ์ไพบูลย์, และวนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. (2565). “การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์รูปแบบออนไลน์ที่เน้นสมรรถนะการสื่อสารโดยการใช้สถิติจากสถานการณ์ COVID – 19” นิตยสาร สสวท, 50(234) มกราคม – กุมภาพันธ์, 20.
ปิยะรัตน์ เงาผ่อง. (2551). การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสารภีพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2548). “ยุทธวิธีเกี่ยวกับความตระหนักในการคิดในกระบวนการแก้ปัญหาปลายเปิด” วารสารวิจัย มข. (บศ.), 7(1), 150 – 163.
ระพีพัฒน์ แก้วอ่ำ. (2559). “การใช้คำถามปลายเปิดในการสอนคณิตศาสตร์” วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์, 8(15) มกราคม – มิถุนายน, 206.
ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮาส์.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546). 19 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
อมราวดี เพชรรักษ์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวีรนาทศึกษามูลนิธิ จังหวัดพัทลุง ระหว่างวิธีสอนแบบปกติกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเทคนิคกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD). (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
Akinsola, M.K., & Olowojaiye, F.B. (2008). “Teacher Instructional Methods and Student Attitudes Towards Mathematics” International Electronic Journal of Mathematics Education, 3(1) February, 60 – 73.
Foong, P.Y. (2000). “Open – ended problems for higher – order thinking in mathematics” Teaching and Learning, 20(2), 50 – 52.
Kiwanuka, H.N., Van Damme, J., Van den Noortgate, W., & Reynolds, C. (2020). “Temporal relationship between attitude toward mathematics and mathematics achievement” International Journal of Mathematical Education in Science and Technology, 51, 1 – 25.
Rowan, T.E., & Morrow, L.J. (1993). Implementing K – 8. Curriculum and Evaluation Standards from the Arithmetic Teacher. Massachusetts: Allyn and Bacon.
Tran, V.D. (2013). Effects of student teams achievement division (STAD) on academic achievement, and attitudes of grade 9th secondary school students towards mathematics (Faculty of Education). La Trobe Univers
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์