แนวทางการศึกษาคุณลักษณะครูต้นแบบนวดไทย มรดกโลก ยูเนสโก

Guidelines for Characteristic Development Thai Massage Master, UNESCO World Heritage

ผู้แต่ง

  • มัทนา สุขโชติ นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การแพทย์แผนไทยประยุกต์) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศุภะลักษณ์ ฟักคา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.) หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การแพทย์แผนไทยประยุกต์) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เสาวภา ไพทยวัฒน์ (รองศาสตราจารย์ ดร.) หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การแพทย์แผนไทยประยุกต์) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณลักษณะครูต้นแบบ , ครูนวดไทย , ครูต้นแบบนวดไทย , มรดกโลก

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูนวดไทยต้นแบบมรดกโลก ยูเนสโก (2) สร้างรูปแบบแนวทางการพัฒนาให้เป็นครูต้นแบบด้านการนวดไทย มรดกโลก ยูเนสโก ที่มีความเหมาะสม มีวิธีการดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยหรือกระบวนวิธีการวิจัย (Methodology) โดยการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) และกระบวนการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย จำนวน 10 ท่าน เพื่อการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. คุณลักษณะของครู จะต้องมีจรรยาบรรณของความเป็นครูนวดไทย ต้องมีวินัย ในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์ สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ มีความเมตตาเอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจ แก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ส่งเสริมให้การเรียนรู้ทักษะและนิสัยที่ดีงามแก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถ ไม่หวงกันความรู้ เข้าใจวิชาชีพอย่างลึกซึ้ง มีการรักษาคนไข้อยู่สม่ำเสมอ มีประสบการณ์การสอนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี เป็นบุคคลที่ชุมชนและสังคมให้การยอมรับ และมีทักษะการถ่ายทอดได้เป็นอย่างดี

          2. รูปแบบมาตรฐานสำหรับการฝึกอบรมครูนวดไทยให้ตรงมาตรฐานในระดับนานาชาติ ประกอบของรูปแบบประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการพัฒนา การวัดและการประเมินผล จะได้เกิดสถาบันที่ให้ความรู้ด้านการนวดไทยเกิดขึ้น เพราะครูเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาผู้เรียนครูจึงพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงและความสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิตร่วมกันพัฒนาคุณลักษณะครูในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรและสืบทอดให้คนรุ่นใหม่

References

โครงการสุขภาพคนไทย. (2564). รายงานสุขภาพคนไทย 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2560). การวิจัยพัฒนารูปแบบทางสังคมศาสตร์และการศึกษา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(2): 71–102.

พัฒนา พรหมมี่, ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด และปณิธาน กระสังข์. (2560), แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขสำหรับนักสาธารณสุข. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, 6(2), 128-135.

รัชนี จันทร์เกษม. (2548). รายงานการวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพอีสาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

วีระกิจ สุวรรณพิทักษ์, วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช และยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์. (2565). “คุณลักษณะสำคัญและความเป็นครูต้นแบบของครูเชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ.” วารสารศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2): 88-112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite