การพัฒนารูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะทุ่งทานตะวันบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

Development of Creative Environmental Design for Ban Khok Sunflower Park, Mueang Phetchabun District, Phetchabun Province

ผู้แต่ง

  • พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ อาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบ, สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง, สวนสาธารณะ, ทุ่งทานตะวัน

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนารูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะทุ่งทานตะวันบ้านโคก และ 2) ศึกษาความคิดเห็นต่อรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะทุ่งทานตะวันบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือประชาชนตำบลบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 12,093 คน  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนตำบลบ้านโคก จำนวน 388 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ และทำการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Chi-Square ในการทดสอบสมมติฐาน

          ผลการศึกษาพบว่า 

          1. ผลการศึกษาการพัฒนารูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะทุ่งทานตะวัน บ้านโคก โดยใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติ ในการสร้างภาพจำลองรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะทุ่งทานตะวันบ้านโคก ได้รูปแบบสวนสาธารณะ 4 รูปแบบ ประกอบด้วย รูปแบบไทย รูปแบบคลาสสิก รูปแบบโมเดิร์น และรูปแบบธรรมชาติ

          2. ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะทุ่งทานตะวันบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะทุ่งทานตะวันบ้านโคก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

          3. ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะทุ่งทานตะวันบ้านโคกแต่ละรูปแบบต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

References

เกศินี ธารีสังข์ และพิษณุวัฒน์ ทวีวัฒน์. (2560). การประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางด้าน นันทนาการของ สวนสาธารณะริมทะเล เทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี. บทความวิชาการ วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560.

เดชา บุญค้ำ. (2549). เอกสารประกอบการอภิปรายเรื่อง “วิถีสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่”. กรุงเทพฯ : อัดสำเนา.

เดชา บุญค้ำ. (2558). การวางผังบริเวณและงานบริเวณ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ และพิจักษณ์ หิญชีระนันทน์. (2565). รูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสำหรับนันทนาการของข้าราชการ กรณีศึกษากรมชลประทานปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565).

พัฒน สุวรรณสัมฤทธิ์ และพิรานันท์ ยิ้มแฟน. (2565). รูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสำหรับ นันทนาการของประชาชนตำบลบ้านโคก กรณีศึกษาทุ่งทานตะวันบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2565).

พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พุทธศักราช 2542. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 114 ก. ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2542.

สมาคมสถาปนิกสยาม และวิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2536). พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของ งานสถาปัตยกรรม : อดีต ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักทะเบียนอำเภอเมืองเพชรบูรณ์. (2566). ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองเพชรบูรณ์. อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์.

Asiaweek. (2000). เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพชีวิต. Retrieved October 25, 2021, from http://www.asiaweek.com.

Best, John W. (1986). Research in Education. 5th ed. New Jersey : Prentice Hall, Inc. Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychomeetrika. 16 (3), 297-334.

Likert, R. (1932). A technique for the Measurement of Attitudes. New York : New York University.

Mercer. (2017). เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพชีวิต. Retrieved October 14, 2022, from http://www.mercer.com.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York : Harper. & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite

สุวรรณสัมฤทธิ์ พ. (2023). การพัฒนารูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสวนสาธารณะทุ่งทานตะวันบ้านโคก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์: Development of Creative Environmental Design for Ban Khok Sunflower Park, Mueang Phetchabun District, Phetchabun Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 93–109. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/267971