สมรรถนะในการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และความพึงพอใจ โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

The Classroom Research Planning Competency and Satisfaction Using Flipped Classroom of Graduate Students

ผู้แต่ง

  • ผดุง เพชรสุข อาจารย์ ดร. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ , การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน , สมรรถนะในการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ , ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสมรรถนะในการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กับเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา  เป็นการวิจัยเชิงทดลองพื้นฐานแบบแผนกลุ่มเดียววัดหลังการทดลอง ประกอบการใช้โปรแกรม Google Meet และกลุ่มไลน์  กลุ่มทดลอง เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนบริหารการสอนเรื่องแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เอกสารความรู้เรื่องแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เพาเวอร์พอยท์ประกอบการบรรยาย แบบฝึกการเขียนแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ประกอบเกณฑ์การให้คะแนน ใบมอบหมายภาระงาน แบบประเมินการนำเสนอแผนการวิจัยวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบบันทึกการตอบข้อซักถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ Shapiro-Wilk  และสถิติทดสอบ t (แบบกลุ่มเดียว) 

          ผลการวิจัยพบว่า

          1) สมรรถนะในการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สูงกว่าเกณฑ์เกณฑ์ที่กำหนด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 

          2) ความพึงพอใจต่อการเขียนแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดที่ระดับมาก

References

กรวรรณ สืบสม และ นพรัตน์ หมีพลัด. (2560). “การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom”. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 6(2), 118-127.

กิตติพงษ์ พุ่มพวง และ ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2559). “การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20(2), 1-11.

ชนิสรา เมธภัทรหิรัญ. (2560). “ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) กับการสอนคณิตศาสตร์”. นิตยสาร สสวท. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 46(209). 20-22.

ชบาพร พิมวัน. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสืบเสาะหาความรู้ (5E)ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสมบัติของสารพันธุกรรมและมิวเทชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ฐานิตา ลิ่มวงศ์ และ ยุพาภรณ์ แสงฤทธิ์. (2562). “ห้องเรียนกลับด้าน : การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่21”. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 6(2). 9-17.

ณัฐพร สุดดี. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเกมพลศึกษาตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านผ่านเว็บไซต์สำหรับนิสิตครู. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตฤกษ์. (2561). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://miwnavarat.wordpress.com. (12 มีนาคม 2564).

วิทยาลัยนครราชสีมา. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (21 พฤษภาคม 2556). “ห้องเรียนกลับทาง : ห้องเรียนมิติใหม่ในศตวรรษที่ 21”. ใน เอกสารประกอบการประชุมผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ณ ห้องประชุมเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 (ส่วน 2) เมื่อ 21 พฤษภาคม 2556. 10 หน้า.

สุพัตรา อุตมัง. (2558). “แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน : ภาพฝันที่เป็นจริงในวิชาภาษาไทย”. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 16(1). 51-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

How to Cite