ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ในวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019
Marketing Mix Factors Affecting Online Shopping Behavior During the Coronavirus 2019
คำสำคัญ:
ส่วนผสมทางการตลาด, พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์, ไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดและพฤติกรรมในการสั่งซื้อออนไลน์ในวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ในวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรตัวอย่าง เก็บแบบสอบถามของประชากรทุกอำเภอในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน ตามกลุ่มอายุที่แตกต่างกันตามสัดส่วนจำนวนประชากรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถอดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด มีระดับความสำคัญในระดับมาก โดยปัจจัยด้านสถานที่ด้านสถานที่มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการให้บริการส่วนบุคคลกับ ด้านรักษาความเป็นส่วนตัว โดยให้ความสำคัญในระดับมาก ต่อมาคือการส่งเสริม โดยให้ความสำคัญในระดับมาก และน้อยที่สุด คือ ด้านราคา โดยให้ความสำคัญในระดับมาก
2. ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด มีผลกระทบเชิงบวกต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ในวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา2019 ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ในวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
References
กรมควบคุมโรค. (2563). รายงานประจำปี 2563. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.thaincd.com. (1 กันยายน 2564).
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐกานต์ กองแก้ม. (2559) พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของผู้ใช้ Application Shopee ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทัณฑิมา เชื้อเขียว. (2550). พฤติกรรมในการซื้อสินค้าและบริการ ผ่านเว็บไซต์พานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิรนาม. (2561). เจาะลึกพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของ คนไทย ม.ค. 2018 แบบละเอียดยิบ.(ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.marketingoops.com. (1 กันยายน 2564).
วราวุฒิอภัยพงศ์ และสุกิจ ขอเชื้อกลาง. (2557). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนวัยทำงานเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. (2563). สถานการณ์ Covid-19 ในประเทศไทย. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.moicovid.com (1 กันยายน 2564).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายได้ประชาชาติของประเทศไทย พ.ศ. 2562 แบบปริมาณลูกโซ่. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.nesdc.go.th. (1 กันยายน 2564).
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2564). ข่าวสารกระทรวงพานิชย์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.price.moc.go.th/. (1 กันยายน 2564).
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA แนะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสขายของ ออนไลน์อยู่บ้านนั่งนับเงิน ช่วงโควิด-19. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.etda.or.th (1 กันยายน 2564).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สำมะโนครัวและเคหะ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.nso.go.th. (1 กันยายน 2564).
C. Anderson. (2006). The Long Tail: Why the Future of Business is Selling Less or More. Hyperion, New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์