ประสิทธิภาพการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย: บทบาทของวัฒนธรรมองค์กร

The Effectiveness of Internal Control on the Performance of Private Higher Education Institutions in Thailand: The Role of Organizational Culture

ผู้แต่ง

  • นันธิชา ปัจจัยโย นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
  • อุษณา แจ้งคล้อย ผศ.ดร. ประจำหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การควบคุมภายใน, สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อทดสอบปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย (2) เพื่อทดสอบปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรและประสิทธิภาพการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย และ (3) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารและหัวหน้างานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานบัญชีของสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย จำนวน 62 ตัวอย่าง ได้รับแบบสอบถามกลับมาจำนวน 58 ตัวอย่าง

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการควบคุมภายในของสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ด้านวัฒนธรรมที่เน้นบทบาทอิสระเฉพาะตัวบุคคล และด้านวัฒนธรรมแบบผู้นำ
  2. ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กรและประสิทธิภาพในการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ด้านวัฒนธรรมที่เน้นงาน ด้านวัฒนธรรมที่เน้นบทบาทอิสระเฉพาะตัวบุคคล และด้านวัฒนธรรมแบบผู้นำ ส่วนปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร ด้านวัฒนธรรมที่เน้นบทบาท ไม่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย
  3. ประสิทธิภาพในการควบคุมภายในส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กร ส่วนประสิทธิภาพในการควบคุมภายในด้านอื่นๆ ไม่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย

References

นวรัตน์ เพชรพรหม. (2562). วัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นิติกรณ์ จันทรสุริยะศักดิ์, นุชรี พิทักษ์, มณีวรรณ ศรีปาน, พยุงศรี ดีโคตร และ วนิดา ณ ลำพูน. (2562). ผลกระทบของการควบคุมภายในด้านการบัญชีที่ดีที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(2).

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2556). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรัตน์ รัตนศิริวงศ์. (2562). แนวคิดวัฒนธรรมองค์กร ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดสงขลา. เข้าถึงได้จาก : https://www.sdtc.go.th/upload/forum/think.doc. (Retrieved 2565, กรกฎาคม 12).

ศุภสี นัยศิริ. (2561). ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในของสถาบันอุดมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต. คณะบัญชี.มหาวิทยาลัยศรีปทุม กรุงเทพฯ

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2565). สถิติการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564. เข้าถึงได้จาก : https://bict.moe.go.th/สถิติการศึกษา-ประจำปี-2564/ (Retrieved 2565, พฤศจิกายน 13).

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). ประวัติสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. เข้าถึงได้จาก : http://www.mua.go.th/ohec/history.html (2565, 12 มกราคม)

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). จำนวนสถิติสถาบันการศึกษาในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก : http://statbbi.nso.go.th/ (2565, 15 พฤษภาคม)

Alamgir, M. (2007). “Corporate governance: a risk perspective”. Paper Presented at Conference on Corporate Governance and Reform: Paving the Way to Financial Stability and Development, Egyptian Banking Institute, Cairo.

Al-Zarqa, M.A. (2021). An Introduction to the General Theory of Obligations in Islamic Jurisprudence: A Thorough Formulation of the Theory’s Texts, (International Shariah Research Academy for Islamic Finance, Trans.), ISRA RMC, Kuala Lumpur.

COSO. (2013). “Internal control, integrated framework: executive summary”, The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission, available at: https://www.coso.

Handy, C. (1995). Gods of management: The changing work of organizations. New York: Oxford University

Preacher, K. J., and Hayes, A. F. (2008). Asymptotic and Resampling Strategies for Assessing and Comparing Indirect Effects in Multiple Mediator Models. Behavior Research Methods, 40. 879-891.

Uwadiae, O. (2015). COSO – an approach to internal control framework. Available at: https://www2.deloitte.com/ng/en/pages/audit/articles/financial-reporting/ coso-an-approach-to-internal-controlframework.html (accessed 6 April 2022).

Yamane, T. (1973). Statistics an introduction analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite

ปัจจัยโย น. . ., & แจ้งคล้อย อ. (2023). ประสิทธิภาพการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย: บทบาทของวัฒนธรรมองค์กร: The Effectiveness of Internal Control on the Performance of Private Higher Education Institutions in Thailand: The Role of Organizational Culture. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 374–388. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/267833