แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา วิศวกรในจังหวัดนครราชสีมา
Motivation Affecting Work Efficiency : A Case Study of Engineers in Nakhon Ratchasima Province
คำสำคัญ:
แรงจูงใจในการทำงาน, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, วิศวกรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของวิศวกรที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย วิศวกรที่ปฏิบัติงานในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคุณ
ผลการศึกษาพบว่า แรงจูงใจในการทำงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก นอกจากนั้นยังพบว่า แรงจูงใจในการทำงานด้านความต้องการการดำรงชีวิตอยู่ ด้านความต้องการความสัมพันธ์ และด้านความต้องการความเจริญเติบโต ส่งผลทางบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของวิศวกรในจังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้งนี้ตัวแประอิสระทุกตัวสามารถร่วมกันกำหนดทำนายประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ได้ร้อยละ 61.5
References
เกศณรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และลูกจ้างองค์การคลังสินค้า. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เขมจิรา ทองอร่าม. (2563). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการอุตสาหกรรมฉีดขึ้นรูปพลาสติก ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชญานิษฐ์ เตชะ. (2561). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติการของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท ทรัยโมทีฟเอเชีย แปซิฟิค จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฐ ธารพานิช. (2562). การสร้างนวัตกรรมในภาคบริการ. สัมมนาวิชาการประจำปี 2562 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 41.
ณฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการทหารประจำสังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
ตรีภพ ชินบูรณ์. (2560). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน ดิสทริบิวเตอร์.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.
ปัญญาพร ฐิติพงศ์. (2560). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทก่อสร้าง: กรณีศึกษา บริษัท อินเตอร์ เอ็กซ์เพิร์ท คอนสตรัคชั่น จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยงยุทธ เสริมสุธีอนุวัฒน์. (2565). หน้าที่และความรับผิดชอบของวิศวกรอุตสาหการในโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนครราชสีมา. แหล่งที่มา : http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/7182/1/Fulltext.pdf
WoodCock, Mike.(1989).Team development manual.Worcester : Billing and Sons.
วราพร ฝ่าซ่าย. (2563). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานในธุรกิจโลจิสติกส์ กรณีศึกษาบริษัท แอล เอส ที โลจิสติกส์ เซอร์วิสเซส จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2559). การยกระดับอุตสาหกรรมไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.nfcrbr.or.th/site/attachments/article/81/White%20paper.pdf (18 กรกฎาคม 2565).
Alderfer, C. P. (1972). Existence, Relatedness, and Growth; Human Needs in Organizational Settings. New York: Free Press.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York : John Wiley and Sons Inc.
Herzberg, F. et al. (1959). The Motivation to Work. 2nd ed. New York: John Wiley Andersons Inc.
Peterson, E. and Plowman, G. E. (1953). Business organization and Management. Illinois: Irwin.
Vroom, H.V. (1964). Management and motivation. New York: Wiley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์