ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารแห้ง ผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี หลังสถานการณ์ Covid -19
ONLINE MARKETING MIX AFFECTS DRY FOOD BUYING PROCESS VIA SHOPEE OF NONTHABURI PROVINCE CONSUMERS AFTER THE COVID-19
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์, กระบวนการตัดสินใจซื้อ, อาหารแห้ง, แอพพลิเคชั่น ช้อปปี้, สถานการณ์ Covid -19บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ (6P) และศึกษาระดับกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค จำแนกตามลักษณะด้านประชากรศาสตร์ และ 3) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ (6P) ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารแห้งผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคอาหารแห้งผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 385 คน วิธีการสุ่มตัวอย่าง 1) การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และ 2) การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ระดับส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ (6P) ของผู้บริโภคที่ซื้ออาหารแห้งผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการส่งเสริมการตลาดเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และระดับกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารแห้งผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ ของผู้บริโภคในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการแสวงหาข้อมูลเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด
2. ผู้บริโภคที่มีเพศ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจซื้อแตกต่างกันที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการให้บริการส่วนบุคคล ด้านการรักษาความเป็นส่วนตัวมีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารแห้งผ่านแอพพลิเคชั่นช้อปปี้ของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี
References
กองบรรณาธิการ TCIJ. (2564). ผลสำรวจพบคนไทยมีอัตราช้อปปิ้งออนไลน์สูงที่สุดในโลกช่วง COVID-19. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2565, จาก https://www.tcijthai.com/news/2021/7/ scoop/11763.
ณิชาภา เทพณรงค์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทรงพร เทือกสุบรรณ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่น Shopee ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิชาเอกการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York: John Wiley and Sons Inc.
Kotler & Keller. (2012). Marketing Management. 14th ed. New Jersey: Prentice-Hall.
Kotler et al., (2018). Marketing Management, An Asian Perspective. (7th ed.). Harlow, United Kingdom: Pearson Education Limited.
Tanaporn, C. (2564). ทำไม Shopee ถึงเป็นแพลตฟอร์ม E-Commerce ที่โตไวที่สุดในอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2565, จาก https://thegrowthmaster.com/case-study/shopee.
THAI PBS. (2564). อาหารไทยไม่ต้องตุน ผลิตจนเหลือก่อนส่งตลาดโลก. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2565, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/289877.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์