คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน จังหวัดเชียงใหม่

Service Quality Influencing Customer Loyalty in Medical Services Of Private Hospitals in Chiang Mai

ผู้แต่ง

  • จอมขวัญ ศุภศิริกิจเจริญ อาจารย์สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี วิทยาเขตภาคเหนือ จังหวัดลำพูน
  • ฟ้าวิกร อินลวง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธนบุรี วิทยาเขตภาคเหนือ จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการ, ความภักดีของลูกค้า, บริการทางการแพทย์, โรงพยาบาลเอกชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนจังหวัดเชียงใหม่  และ 2) ศึกษาปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. ผู้ใช้บริการให้ความสำคัญต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.45 (S.D. = 0.50) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความน่าเชื่อถือมีความสำคัญต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ มากที่สุด รองลงมาคือ ความเป็นรูปธรรม การให้ความเชื่อมั่นไว้วางใจ การเอาใจใส่เข้าใจผู้ใช้บริการ และการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ ตามลำดับ

          2. ปัจจัยคุณภาพการให้บริการส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ ด้านการเอาใจใส่เข้าใจผู้ใช้บริการ และด้านการให้ความเชื่อมั่นไว้วางใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

กรรณิการ์ ชมภูเทศ (2562) . ความภักดีของลูกค้าที่มีต่อโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม.บริหารธุรกิจบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2562/mba11062chom_full.pdf (2 กุมภาพันธ์ 2565).

กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ. (2565). รายชื่อสถานพยาบาลรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://mrd.hss.moph.go.th/mrd1_hss/?cat=17 (20 กุมภาพันธ์ 2565).

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถิตินักท่องเที่ยวในประเทศและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย รายจังหวัด ปี 2565. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.mots.go.th/news/category/6556(5 กุมภาพันธ์ 2565).

กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2565). รายชื่อโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2565. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/detail_article2.php?info_id=1(15 กุมภาพันธ์ 2565).

จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์ และ อรณัฏฐ์ นครศรี. (2560). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าต่อโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร” วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ. 4(2). 39-50.

ช่อดาว เมืองพรหม. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://e-research.siam.edu/wp-content/uploads/2020/01/MPA-2019-IS-Public-Satisfaction-with-the-Service-Quality-of-Thonburi-Hospital-compressed.pdf (5 กุมภาพันธ์ 2565).

โตพล กมลรัตน์. (2564). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-9/6214154019.pdf (5 กุมภาพันธ์ 2565).

วริศรา เบ้านู และพาณี สีตกะลิน. (2562). คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการต่องานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารสาธารณสุข. 42(1). 157-170.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2565). จับตาสถานการณ์ผู้สูงอายุทั่วโลกและไทย. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://infocenter.nationalhealth.or.th/node/27613 (15 กุมภาพันธ์ 2565).

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณลูกโซ่ ฉบับ พ.ศ 2561. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5628&filename (6 กุมภาพันธ์ 2565).

อนุทิน ชาญวีรกูล. (2563). WHO ชื่นชมประเทศไทยรับมือโควิด 19. (ออนไลน์). สืบค้นจาก:https://www.hfocus.org/content/2020/11/20459 (27 กุมภาพันธ์ 2565).

Department of Economic and Social Affairs. (2022). World Population to reach 8 billion on 15 November 2022. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.un.org/en/desa/world-population-reach-8-billion-15-november-(2 กุมภาพันธ์ 2565).

Cochran W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition. New York: John willey and sons Inc.

Kumaraswamy, S. (2012). Service Quality in Health Care Centre: An Empirical Study. International Journal of Business and Social Science. 3(16). 141-150.

Parasuraman, A., Zeithamal, V.A. and Berry, L.L. (1985). A conceptual model of services quality and its implications for future research. Journal of Marketing. 49(4). 41-50.

United Nations. (2022). Global Issues Population. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://www.un.org/en/global-issues/population (2 มีนาคม 2565).

Zaim, H., Bayyurt, N., and Ziam, S. (2010). Service Quality and Determinants of Customer Satisfaction in Hospitals: Turkish Experience. The International Business & Economics Research Journal. 9(5). 51-58.

Zarei, E., Daneshkohan, A., Khabiri, R., and Arab, M. (2015). The effect of Hospital Service Quality on Patient’s Trust. Iranian Red Crescent Medical Journal. 17(1). 12-20

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite