การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี

Public Participation in Local Administrative Organization Development in Lopburi Province

ผู้แต่ง

  • ไสว วงษ์ศรี นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล, การจัดการภาครัฐแนวใหม่, การมีส่วนร่วมของประชาชนการพัฒนา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

          การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี มีวัตถุประสงค์  (1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลและการจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดลพบุรี เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่าง การวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน จำแนกเป็น ผู้นำชุมชน 3 คน ประชาชนทั่วไป 17 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ตามลำดับ

          2. หลักธรรมาภิบาลและการจัดการภาครัฐแนวใหม่ หลักตอบสนอง หลักภาระรับผิดชอบ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้ ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลพบุรี มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          3. ควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการประเมินผลในขั้นตอนกระบวนการดำเนินงาน เพื่อความถูกต้อง เป็นธรรม เกิดการจัดการที่ตรงกับความต้องการของประชาชน และคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนจะได้รับ

References

กมลวรรณ ท้วมทอง. (2564). การนำหลักการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ไปปฏิบัติของสำนักงานอัยการในจังหวัดลพบุรี. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชมภูนุช หุ่นนาค,(2560).การจัดการภาครัฐแนวใหม่: การเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างผลิตภาพสูงสุด.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์),17(3),125-139

ถวิลวดี บุรีกุล. (2548). การมีส่วนร่วมแนวคิดทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพาณิชพระนครจํากัด.

รัชดากร ทมินเหมย. (2556). หลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดน่าน. อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา.

รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2552). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร.

วีระยุทธ พรพจน์ธรมาส. (2557). องค์ประกอบของธรรมาภิบาลในโรงเรียน. วารสารนักบริหาร, 34(1).

วริศรา สมทรัพย์. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ก.พ.ร. ). (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพฯ : บริษัท พรีเมียร์ โปร จำกัด.

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2557). มิติใหม่การบริหารธรรมาภิบาลขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี : สำนึกพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช..

สถาบันพระปกเกล้า. (2558). ดุลอำนาจในการเมืองการปกครอง. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2563).ข้อมูลสถิติจังหวัดลพบุรี. สืบค้นจาก http://lopburi.nso.go.th/เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563

สนุพงษ์ จิรชวาลวิสุทธิ์,จ่าสิบเอก. (2558). ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของนายทหารประทวน ค่ายภาณุรังสีจังหวัดราชบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2560). การบริหารงานภาครัฐกับมิติของความเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานของ หน่วยงาน ภาครัฐสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง. รัฐสภาสาร. 65 (5), 9-34.

Barzelay, M. (2002). Origins of the New Public Management: An international View from public administration/Political Science. In MClaughlin, Orsborne and Ferlie (ed.). New Public Management Current trends and future prospects.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation Place in Rural Development: Seeking Clarity through Specificity, World Development. New York: Cornell University, 8(3).

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

WHO and UNICEF. (1978). Strategies Utilized by School Superintendents in Establishing Participatory Linkages with the district Community. New York :The University of Wisconsin.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third Edition. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite