การส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมนักเรียนของผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วิบูลย์ พุ่มพูลสวัสดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • คณิต สุขรัตน์ นักวิชาการอิสระ
  • พัชรา จันทรัตน์ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การส่งเสริมคุณธรรม, จริยธรรม, ความคิดเห็นของผู้ปกครอง, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมนักเรียนของผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมนักเรียนของผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี  จำแนกตาม ระดับการศึกษา และอาชีพ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 152 คน จากนั้นสุ่มอย่างง่าย แบบมีสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  มีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. การส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมนักเรียนของผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากลำดับมากไปน้อย คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดสภาพแวดล้อม  ด้านการจัดกิจกรรม  ด้านอบรมนักเรียน และด้านการประเมินผล  ตามลำดับ
  2. ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ผู้ปกครองที่มีอาชีพต่างกันมี

    ความคิดเห็นต่อการส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี  โดยรวมไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). แนวทางการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของสถานศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กีรติกร แก้วเมืองกลาง (2557). การสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้กับผู้เรียนของครูในโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูม. สารนิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

จุฑาธิป เปี่ยมประถม. (2554). จริยธรรมนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทองพูล ภูสิม. (2553). การพัฒนาคุณลักษณะที่เป็นจริงกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 8 ประการตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรณีศึกษาโรงเรียนแกดำวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ทัศนัย สุคันธา. (2549). การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์สำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ธีราพร กุลนานันท์. (2544). การพัฒนาลักษณะนิสัยทางจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. จังหวัดนครสวรรค์ : คอมพิวเตอร์แอนด์กราฟฟิค.

วรัชยา ประจำ.(2564).ศึกษาการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โรงเรียนอนุบาลห้วยทับทันโดยใช้ CIPP Model.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ,15(3),102-123.

ปิยฉัตร ศรีศักดิ์นอก. (2556). การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. สารนิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลพุสวรรค์. (2558). แนวทางการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเด็กปฐมวัย. เพชรบุรี : องค์การบริหารส่วนตำบลพุสวรรค์.

สมพร โตนวล (2550). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมให้แก่นักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. รายงานการวิจัย,กระทรวงศึกษาธิการ.

สุมาลี สุจินดา. (2546). จริยธรรมนักเรียนระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนสังกัดคณะรักษากางเขนแห่งจันทบุรี. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อังคณา ทวีชาติ. (2551). การสร้างเสริมคุณธรรม และจริยธรรมให้แก่ผู้เรียนของครูผู้สอน ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ชุมชนสุวรรณประสิทธิ์ 2. สารนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing(5th ed.). New York : Harper Collins.

Krejcie, Robert V. & Morgan, Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, in Educational and Psychological Measurement. Vol.30 (No.3) : pp. 607 – 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite