แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองอัจฉริยะแบบองค์รวมของจังหวัดภูเก็ต

Approaches to the Development of Tourism in a Holistic Smart City: A Case Study in Phuket

ผู้แต่ง

  • ฉัตรมงคล จันทราทิพย์ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรม มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ชวลีย์ ณ ถลาง รองศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรม มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

นักท่องเที่ยว, การพัฒนาการท่องเที่ยว, เมืองอัจฉริยะแบบองค์รวม

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประเมินศักยภาพของเมืองอัจฉริยะของจังหวัดภูเก็ตตามกรอบมาตรฐานการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และ (2) เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองอัจฉริยะแบบองค์รวมของจังหวัดภูเก็ต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ 5 ราย ผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว จำนวน18 ราย และนักวิชาการ 3 ราย 

          ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของเมืองอัจฉริยะของจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ 1) คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว มีความทันสมัย และวัฒนธรรมที่ผสมผสาน 2) ความสะดวกของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งทางบก น้ำ อากาศ การคมนาคมทางบก และการขนส่งภายในอีกหลายช่องทาง 3) สิ่งอำนวยความสะดวก รองรับนักท่องเที่ยวอย่างครบครัน และการรักษาความปลอดภัย 4) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ของแหล่งท่องเที่ยวที่มีและตอบสนองความต้องการเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวได้ และ 5) ข้อจำกัด ด้านพื้นที่ ข้อจำกัดทางด้านบริการ สาธารณูปโภค ปัญหาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ส่วนแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองอัจฉริยะแบบองค์รวมของจังหวัดภูเก็ต คือ PIBIDI Model เป็นการลงทุน (Investment) ที่สร้างรายได้ (Income) บนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) การสร้างแรงงาน (People) ที่ดีมีคุณภาพเพื่อสร้างข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เพียงพอต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองอัจฉริยะแบบองค์รวม

References

ศิริรัตน์ โรจนปณิธิกุล และ ศุภศักดิ์ เงาประเสริฐวงศ์ (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 (หน้า 559-566), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

Forge, S. (2016). Radio spectrum for the internet of things, (18), 67–84.

Giardina, C. (2016). The Hunt for a business model for virtual reality: Spielberg and Inarrituare.

Hughes, R. (2014). Augmented Reality : Developments, Technologies and Applications. Hauppauge, New York: Nova Science Publishers, Inc

Ministry of Digital Economy and Society. (2019). Government Action Plan, 4 years, 2019 – 2022, Ministry of Digital Economy and Society. Bangkok.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2018). Report on situation analysis of poverty and inequality in Thailand 2017. Office of the National Economic and Social Development Board.

Ongluam, S. (2014). Documents for teaching tourist behavior. Faculty of Humanities Chiang Mai University. Chiang Mai.

Phuket Provincial Tourism and Sports Office. (2021). Phuket Tourism Strategic Plan Year 2018-2021. Phuket Province

Tourism Authority of Thailand. (2018). Smart City, Smart Citizen, Smart Tourism. Bangkok. Retrieved 10 June 2020, from https://www.tatreviewmagazine.com/article/smart-city-smart-citizen-smart-tourism/

Tourism Authority of Thailand. (2018). Tourism smart data: Big data and tourism. Retrieved June 10, 2020, from https://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-smart-data-big-data/

Wiltshier, P. (2011). Religious tourism in research themes for tourism. UK: MPG Book Group.

Yanopas, N. (2019). Innovation of tourism in the digital age. academic journal Kanchanaburi Rajabhat University, 7(2), 1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite

จันทราทิพย์ ฉ., & ณ ถลาง ช. (2023). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองอัจฉริยะแบบองค์รวมของจังหวัดภูเก็ต: Approaches to the Development of Tourism in a Holistic Smart City: A Case Study in Phuket. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 198–212. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/267298