กระบวนการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
Decision-making process for studying at the higher vocational level of students’ private vocational colleges in Chiang Mai and Lamphun provinces
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, กระบวนการตัดสินใจ, วิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s และกระบวนการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ (2) เปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจเลือกที่จะศึกษาต่อ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับ ปวช. 3 ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น และใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 345 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยผ่านการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.925 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
- กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศชาย อายุ 17-18 ปี รายได้ต่อเดือนของครอบครัวโดยเฉลี่ย 5,001-10,000 บาท ระดับการให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านลักษณะทางกายภาพ รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ และตํ่าที่สุด คือ ด้านกระบวนการให้บริการ ส่วนระดับความคิดเห็นต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการรับรู้ถึงปัญหา รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ด้านการแสวงหาข้อมูล ด้านการประเมินทางเลือก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ ด้านประเมินผลหลังตัดสินใจ อยู่ในระดับปานกลาง
- นักเรียนที่มีเพศและอายุแตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงไม่แตกต่างกัน
- ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคลากร และด้านกระบวนการให้บริการ
References
จำลอง สุริวงค์. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกโรงเรียนเอกชนของผู้ปกครองนักเรียนในจังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
น้ำทิพย์ เนียมหอม. (2560). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่ออาชีวศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีวิบูลย์บริหารธุรกิจรามอินทรา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562. สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา. (2565). ข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ปีการศึกษา 2565 สถานศึกษา รัฐ และเอกชน รายสถานศึกษาจำแนกตามประเภทวิชา สาขาวิชาสาขางาน. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://techno.vec.go.th (2565, 21 สิงหาคม).
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). ราชกิจจานุเบกษา.
สุชาวดี กิ่งทอง. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อระดับปริญญาโทของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสตรนศาสตร์, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อชิระ สัจจธนวัต. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีต่อการตัดสินใจสมัครเรียนหลักสูตรด้านการประกอบอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตกลุ่มวิชาการจัดการธุรกิจการบริการวิทยาลัยดุสิตธานี.
Kotler, P. (2011). Marketing Management, Pearson Education., New Jersey: Prentice Hall.
Kotler, P. (1997). Marketing management: Analyzing consumer marketing and Buyer behavior (The Millennium). New Jersey: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์