การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหัวตะพานวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
Development of Mathematics Skills Exercises on Integer System, Mathematics Learning Subject Group of Secondary 1, Huatapanwittayakom School under the Jurisdiction of Secondary Educational Service Area Office 29
คำสำคัญ:
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ , ระบบจำนวนเต็ม, การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหัวตะพานวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ (1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ (2) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ(3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบลําดับที่โดยเครื่องหมายของวิลค็อกซัน (Wilcoxon-signed rank test)
ผลการวิจัยพบว่า
- แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าประสิทธิภาพร้อยละ 06/81.74 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
- ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 68
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมการเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด.
ขวัญนภา เตโชวีรกุล. (2555). รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 22101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [ออนไลน์ : 2555]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556,จาก http://www.thaigoodview.com/node/140867.
จักรพงษ์ ทองสิงห์. (2549). หลักการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : พญาไทการพิมพ์.
นันทิญา เกรียงสมร. (2556). การพัฒนาและผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนนับและการบวก การลบ การคูณ การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6. [ออนไลน์ : 2556]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556, จาก http://www.nakham.ac.th/newsdetail_7760_53397.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟแวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์.
วรสุดา บุญยไวโรจน์. (2550). คณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยประสานมิตร.
วิไลวรรณ พุกทอง. (2542). นวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : รุ่งอรุณ.
สายพันธ์ สิงห์อ่อน. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านปากปาด อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. [ออนไลน์ : 2554]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556, จาก https://narhumon17.wordpress.com/tag.
สมพร ราชเฉลิม.(2555). การสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ ระบบจำนวนเต็ม วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [ออนไลน์ : 2555]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556,จาก www.utdone.net/polngarn/sompornraj/raj.doc.
สิริพร ทิพย์คง. (2551). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในยุคโลกาภิวัตน์ สาระการศึกษา การเรียน การสอน. กรุงเทพมหานคร : กองทุน ศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เอนก การกิ่งไพร. (2555). ผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็มชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [ออนไลน์ : 2555]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2556, จาก http://www.vcharkarn.com/journal/2808.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์