แนวทางการพัฒนาทักษะที่หลากหลาย (Multi-Skill) ของผู้จัดการร้านกาแฟ บริษัท XYZ จำกัด

Multi-skilled Development Methods for Coffee Shop Managers of XYZ Company Limited

ผู้แต่ง

  • ธัญนันท์ สินปรุ นักศึกษาปริญญาโท คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • วิเชศ คำบุญรัตน์ อาจารย์ ดร. ประจำคณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

ทักษะที่หลากหลาย, สมรรถนะ, การเพิ่มทักษะ, ทักษะใหม่

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบของสมรรถนะที่หลากหลาย และการประเมินผลของการพัฒนาสมรรถนะที่หลากหลาย เพื่อนำไปสู่การสร้างแนวทางมาตรฐานการพัฒนาสมรรถนะที่หลากหลาย (Multi-Skill) ของผู้จัดการร้านกาแฟ บริษัท XYZ จำกัด มีรูปแบบการศึกษาวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ตามระยะการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะต่อเนื่องกันได้แก่ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะที่หลากหลาย (Multi-Skill) ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 ท่าน ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development) ประเมินสมรรถนะที่หลากหลาย (Multi-Skill) ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 ท่าน และระยะที่ 3 สร้างแนวทางมาตรฐานการพัฒนาสมรรถนะที่หลากหลาย (Multi-Skill) และวัดผล ด้วยการวิจัยแบบผสมผสาน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 ท่าน และทดลองกับร้าน 1 ร้าน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินพนักงาน แบบสังเกตพนักงานจากผู้บังคับบัญชา

          ผลการศึกษาพบว่า แนวทางมาตรฐานที่ได้ออกมานั้นประกอบด้วยองค์ประกอบของสมรรถนะพัฒนาทักษะที่หลากหลาย (Multi-Skill)  แนวคิด นโยบาย และปัญหาของผู้บริหารองค์การที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาทักษะที่หลากหลายตามนโยบายการปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด (COVID Policy) 5 ด้าน ได้แก่ การจัดเลี้ยง (Catering) ออนไลน์ ทู ออฟไลน์  (Online to Offline) เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ  (Vending Machine) ความประทับใจ (Impression)  และ การส่งสินค้าจากผู้ขายถึงผู้รับ (Delivery) ซึ่งผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดี มีความพึงพอใจ และพร้อมที่จะพัฒนาทักษะที่หลากหลายทั้ง Upskill และ Reskill ที่นำไปสู่ผลลัพธ์การพัฒนา 3 ด้านได้แก่ ทักษะที่เพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพ และยอดขาย/กำไร และสร้างแนวทางมาตรฐานการพัฒนาสมรรถนะที่หลากหลายไว้อย่างชัดเจน

References

กฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2561). หลักการจัดการและองค์การ. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2563). รูปแบบการทำงาน ยุคหลัง COVID-19 (Work Pattern after Post – COVID-19 Era). สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2563, จาก http://drdancando.com/work-pattern-after-post-covid-19-era/

ดอน นาครทรรพ. (2564). The Great Burst: ระเบิดเวลาลูกใหญ่ของเศรษฐกิจโลก. ธนาคารแห่งประเทศ

ไทยศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย (2563). เจาะแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ท่ามกลางคลื่นมรสุม โควิด19. ธนาคารทหารไทย

วิษณุ เครืองาม. (2555). การใช้หลักนิติธรรมในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย บัณฑิตศึกษา,1(1).

อรวรรณ อรุณพลังสันติ. (2562). ทักษะการทำงานหลายอย่าง (Multitasking skills) (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.math.mut.ac.th/index.php/about-us/menu-articles-knowledgemanagement/70-math-articles-knowledgemanagement-611multitasking

Behrouz Afshar-Nadjafi. (2020). Multi-skilling in scheduling problems: A review on models, methods and applications. Computers & Industrial Engineering Volume 151, January 2021, 107004

Jeng chung V.Chen, David C.Yen, Kuanchin Chen. (2009). The acceptance and diffusion of the innovative smart phone use: A case study of a delivery service company in logistics. Information & Management, Volume 46, Issue 4, May 2009, Pages 241-248, https://doi.org/10.1016/j.im.2009.03.001

McClelland, David C. (1999). (Online). Identifying Competencies with Behavioral-event interviews. Psychological Science, 9(5). [Retrieved December 11, 2022]. fromwww.eiconsortium.org/research/business_case_for_ei.htm.

Natpat, Sanguankaew. (2020). ก่อนจะเปลี่ยนเขา เราต้องเปลี่ยนตัวเองก่อน:เมื่อคนแรกที่ต้องคิดเรื่อง การ Reskill คือตัว HR เอง[Online]. Available at: https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/reskill-of-hr/ (Accessed: 5 Maech 2021)

Sapana Agrawal, Aaron De Smet, Sébastien Lacroix, and Angelika Reich. (2020). To emerge stronger from the COVID-19 crisis, companies should start reskilling their workforces now. Organization Practice and McKinsey Accelerate.

Talerngsri, Arinya.(2019). Reskilling Initiative: Why some fail and some succeed [Online]. Available at: https://www.bangkokpost.com/business/1716339/reskilling-initiatives-why-some-fail-and-some-succeed .(Accessed: 8 June, 2020)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite

สินปรุ ธ., & คำบุญรัตน์ ว. (2023). แนวทางการพัฒนาทักษะที่หลากหลาย (Multi-Skill) ของผู้จัดการร้านกาแฟ บริษัท XYZ จำกัด: Multi-skilled Development Methods for Coffee Shop Managers of XYZ Company Limited. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 357–373. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/267011