ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ เส้นทางภายในประเทศของผู้โดยสารชาวไทยในท่าอากาศยานดอนเมือง
The service marketing mix that influencing the decision making for the Select the service low cost airline Domestic routes of Thai passengers in Don Mueang Airport
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาดบริการ, การตัดสินใจเลือกใช้บริการ, สายการบินต้นทุนต่ำบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ เส้นทางภายในประเทศของผู้โดยสารชาวไทยในท่าอากาศยานดอนเมือง และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ เส้นทางภายในประเทศของผู้โดยสารชาวไทยในท่าอากาศยานดอนเมืองใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้โดยสารชาวไทยที่เคยใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ เส้นทางภายในประเทศในท่าอากาศยานดอนเมือง จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอาชีพ แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ เส้นทางภายในประเทศของผู้โดยสารชาวไทยในท่าอากาศยานดอนเมือง แตกต่างกัน และด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ แตกต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
2. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร และด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ เส้นทางภายในประเทศของผู้โดยสารชาวไทยในท่าอากาศยานดอนเมือง
References
กองเศรษฐกิจการบิน. 2564. จำนวนผู้โดยสารภาพรวมทั่วประเทศในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2555-2564). ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.caat.or.th/th.
กองเศรษฐกิจการบิน ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมกิจการการบินพลเรือน. 2565. ผลกระทบจากการปรับตัวของราคาน้ำมัน. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.caat.or.th/th.
ณรงค์พร จรรโลงบุตร. 2563. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการของสายการบิน การบินไทย สำหรับการให้บริการภายในประเทศ เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). 2564. LOW - COST CARRIERS TRAFFIC IN 2021. ค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565, จาก https://www.airportthai.co.th/wp-content/uploads /2022/06/ANNUAL-REPORT-2021.pdf.
พิไลลักษณ์ ไกรรัตน์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิจัยและการสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: พริ้นท์แอทมี (ประเทศไทย) จำกัด.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: สุพีเรีย พริ้นติ้งเฮาส์.
สหวัฒน์ ธีระธรรม และปัญญา ศรีสิงห์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินในประเทศไทย เส้นทางบินภายในประเทศพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปการจัดการ. 4(3), 582-593.
สุนทรี บุญประเวช. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้สนามบินข้ามภูมิภาค กรณีศึกษา สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา จังหวัดระยอง. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
หยาดพิรุณ ไกรเทพ. (2564). ส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพงานบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Cronbach, L.J. (1974). Essentials of psychological. 3nd ed. New York: Happer & Row Publishers.
Kotler, P., & Keller, K.L. (2012). Marketing management (14 th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Taro Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper & row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์