ปัญหา ความต้องการ และแนวคิด ในการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน วิทยาลัยนครราชสีมา
Problems Needs and Concept for Teaching in School of Internship Students in Master Degree of Curriculum and Instruction Nakhonratchasima College
คำสำคัญ:
ปัญหา, ความต้องการ, การพัฒนาทักษะปฏิบัติการสอนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติการสอนของนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา (2) วิเคราะห์ความต้องการพัฒนาทักษะปฏิบัติการสอนเพิ่มเติมหลังกระบวนการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา (3) ศึกษาแนวคิดของนักศึกษาต่อการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน วิทยาลัยนครราชสีมา ปีการศึกษา 2565 ที่เรียนวิชาการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 2 จำนวน 30 คน 2) ครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 30 คน และ 3) อาจารย์นิเทศ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามปัญหาการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษา เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ 2) แบบสอบถามความต้องการพัฒนาทักษะการฝึกปฏิบัติการสอนหลังการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา มีค่า IOC ระหว่าง 0.60-1.00 3) แบบสัมภาษณ์นักศึกษา เกี่ยวกับแนวคิดในการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติการสอนของนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา พบว่า นักศึกษามีปัญหาเกี่ยวกับทักษะปฏิบัติการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. นักศึกษามีความต้องการพัฒนาทักษะปฏิบัติการสอนเพิ่มเติมหลังกระบวนการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาของนักศึกษา โดยภาพรวมในระดับมากที่สุด
3. นักศึกษามีแนวคิดในการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ว่า เป็นการเรียนรู้ และฝึกประสบการณ์ในสถานการณ์จริง เพื่อให้เกิดความมั่นใจและประสิทธิภาพในการสอน นำเทคนิคการจัดการเรียนรู้ และนวัตกรรมการศึกษาที่ทันสมัย มาใช้ในการพัฒนานักเรียน
References
กรมวิชาการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ.
กฤษฎา สิงขรรักษ์ และคณะ. (2553). ความต้องการในการรับการนิเทศของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ปีที่4 ฉบับที่ 3 กนัยายน –ธันวาคม 2553.
กิตติมา เก่งเขตรกิจ และคณะ. (2563). การศึกษาสภาพปัญหาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2563.
ชวลิต ชูกําแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชาตรี ฝ่ายคําตา และวรรณทิพา รอดแรงค้า. (2548). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาโครงการส่งเสริมครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. วารสารวิทยา สารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.
ธิดารัตน์ สมานพันธ์ และคณะ. (2564). การประเมินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2564).
ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ และ วลัยพร เตชะสรพัศ. (2554). ความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นจังหวัดเชียงใหม่. วารสาร FED ACADEMIC REVIEW ปีที่ 4 ฉบับพิเศษ (พฤษภาคม 2554).
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2555). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ลักษณ์, กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
เหมวดี กายใหญ่. (2565). แนวคิดการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ. สืบค้นจาก https://manage.lru.ac.th/th/?page_id=264. เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์