การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อในสาขาวิชาการบริหารจัดการกีฬา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย
Factors Analysis of Decision Making to Study in Sport Management Major Faculty of Liberal Arts, Thailand National Sports University Sukhothai Campus
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์ปัจจัย, การตัดสินใจ, ศึกษาต่อ, การบริหารจัดการกีฬาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาการบริหารจัดการกีฬา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย (2) เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะ สำหรับปรับปรุงระบบการรับนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารจัดการกีฬา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสุโขทัย จำนวน 368 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษาเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ (Cronbach 's Alpha : 0.86) วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิ'คุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่ออยู่ในระดับมาก ( = 4.11±0.79) รองลงมา คือ ปัจจัยด้านหลักสูตร อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.21±0.87) และปัจจัยด้านเหตุผลส่วนตัว อยู่ในระดับน้อย ( = 2.39±1.08) ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. แนวทางในการปรับปรุงระบบการรับนักศึกษาควรมีความชัดเจนด้านความต้องการของนักเรียน การปรับวิธีการแนะแนวที่แสดงถึงกรอบงาน ประสบการณ์ที่ได้รับหลังจากการสำเร็จการศึกษา การสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองในสาขาวิชาหรืออาจจะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตร ให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานในปัจจุบัน
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). ทิศทางการอุดมศึกษา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560. จาก http://www.kriengsak.com/node/41
ฉัตรชัย อินทสังข์. (2552). ความต้องการศึกษาต่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตของนักศึกษาจังหวัดนครราชสีมา [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ณัชชา สุวรรณวงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา 2560, งานบริหารงานทั่วไป สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ธัญญพัทธ์ แสงสีเหลือง, ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์, ทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2564). แนวทางการบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(2), 187-200.
ปฐมา อาแว และ นิยาวาเฮร์ ไพบูลย์. (2562). การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. รายงานการวิจัย. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2564). ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://www.tnsu.ac.th/web/web3/images/M_pdf/62/TNSUhistory.pdf
เมธาวี สุขปาน (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.วส.)ของนักเรียน กรณีศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศศิประภา วัชรพงศ์อนันต์, นัทธ์หทัย ตันสุหัช, ปราศรี อเนก. (2565). ภาพลักษณ์องค์กรโรงเรียนกวดวิชาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(3), 57-71.
ศีจุฑา ปอน้อย, ภริดา สนธ์หอม. (2563). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่องทางการประชาสัมพันธ์และการแนะแนวการศึกษากับความเชื่อมั่นในการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2563 ของนักศึกษาสายอาชีวศึกษา.
สิทธิโชค เสนาะน้อย. (2565). ทุนการศึกษา; โอกาส ความเหลื่อมล้ำ ความซ้ำซ้อน บริหารทุนการศึกษาอย่าไรให้เกิดความเสมอภาค ?. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 4(2), 47-54.
สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. เสมาธรรม.
สุภาพร กุลสุวรรณ, สมศักดิ์ บุญปู่, สิน งามประโคน, ศิริพร ทัศนศรี. (2561). กระบวนการสร้างเครือข่ายชุมชน เพื่อพัฒนาผู้เรียน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักพุทธบริหาร การศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1633-1645.
Saskia Kunnen. (2013). The Effects of Career Choice Guidance on Identity Development. Education Research International, Hindawi Publishing Corporation Education Research International, 1: 1-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์