ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคกาแฟในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

The Marketing Factors of Consumer Coffee in Lat Lum Kaeo District, Pathumthani Province

ผู้แต่ง

  • เพ็ญทิพย์ บุนนาค อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • เฉลิมรัชต์ เข็มราช อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • สุริวิภาวรรณ ขุนพิลึก อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ปัจจัยการตลาด, ผู้บริโภคกาแฟ, จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ มีมีวัตถุประสงค์(1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคกาแฟในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี และ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคกาแฟในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามลักษณะพื้นฐานทั่วไป โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือและแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง ประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีที่บริโภคกาแฟ จำนวน 385 ราย ด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยสถิติที่ใช้ได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) คือ t-test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ F-test, (One-way ANOVA), Pearson Product Moment Correlation และทดสอบสมมติฐานด้วยวิธี Multiple Regression Analysis ได้มีการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามแล้วแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ วิเคราะห์ลักษณะพื้นฐานทั่วไป วิเคราะห์ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคกาแฟในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ทดสอบสมมติฐาน

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. ประชาชนที่เป็นผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ส่วนใหญ่มีอายุ 30 - 40 ปี รองลงมาคือ อายุ 41 - 50 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี รองลงมาคือ การศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีรายได้ 15,000 บาท - 25,000 บาท รองลงมาคือ รายได้ 25,001 บาท - 30,000 บาท

          2. ประชาชนผู้บริโภคกาแฟ ให้ระดับความสำคัญของปัจจัยการตลาด ภาพรวมเฉลี่ยทุกด้านระดับมาก โดยมีลำดับจากค่าเฉลี่ย คือ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ 2) ด้านราคา 3) ด้านสถานที่/ช่องทางการจัดจำหน่าย และ 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด เรียงตามลำดับ

          3. ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ แตกต่างกัน มีการให้ระดับความสำคัญของปัจจัยการตลาดในการบริโภคกาแฟ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05

          4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคกาแฟในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี พบว่า มีความสัมพันธ์กันทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

ชุติพร โพธิ์สว่าง. (2553). พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟสดของผู้บริโภค. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธำมรงค์ อินทเสวก. (2553). พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟสดของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ. สุรีวิยาสาส์น

ประวิน แสงศรัณย์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อกาแฟสดจากร้านกาแฟสด ในเขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ประวัติกาแฟในระเทศไทย. (2022). ประวัติกาแฟในประเทศไทย, สำนักงานพัฒนาการวิจัยเกษตร (องค์กรมหาชน). สืบค้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2565 จากhttps://www.arda.or.th/kasetinfo/south /coffee/history/01-02.php

วุฒ สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : บริษัท จี พี ไซเบอร์พริ้นท์ จำกัด.

วันธิดา สุขสันต์. (2552). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคนมกล่องของนักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

ศุภร เสรีรัตน์. (2544). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : เอ อาร์. บิซิเนสเพรส.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัทธรรมสาร จำกัด.

_______. (2550). องค์การการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัทธรรมสาร.

สถาพร คูประทุมศิริ. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อกาแฟสดของลูกค้าเทสโก้โลตัส เอ็กซ์ เพรส. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรินทร์ วัชรปรีชา. (2548). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาในการเลือกใช้บริการร้านกาแฟในมหาวิทยลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุจกิจ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc; 1977.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). NY: Harper & Collins.

Kotler, P., & Keller, K. (2016). Marketing Management. (15th ed.). New Jersey; Pearson Education.

Taro Yamane. (1973). An Introductory Analysis. (3rd ed.). Tokyo: Harper International Edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite

บุนนาค เ. . ., เข็มราช เ., & ขุนพิลึก ส. . . (2023). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคกาแฟในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี: The Marketing Factors of Consumer Coffee in Lat Lum Kaeo District, Pathumthani Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 242–255. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/266304