รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Quality School Administration Model in Surat Thani Province

ผู้แต่ง

  • อธิพงษ์ เพชรสุทธิ์ นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารโรงเรียน, โรงเรียนคุณภาพ, การบริหารโรงเรียนคุณภาพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยแบบผสานวิธีกรอบแนวคิดของงานวิจัยนี้ได้สร้างขึ้นโดยแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนคุณภาพของสมศักดิ์สินธุระเวชญ์; สุเทพพงศ์ศรีวัฒน์; กระทรวงศึกษาธิการ; สุขวิช รังสิตพล; สุรัฐ ศิลปะอนันต์ ประชากร ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 541คน มาคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 217คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมี 8 องค์ประกอบ คือ(1)ผู้บริหารมืออาชีพ(2)บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการศึกษา (3)ครูและบุคลากรทางการศึกษามืออาชีพ (4) หลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (5) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีคุณภาพ (6) การประกันคุณภาพการศึกษา (7) การมีส่วนร่วม และ (8) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

          2. รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) (พ.ศ. 2547- 2549) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)

ชวนพิศ สิทธิธาดา. (2552). รูปแบบสมรรถณะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผล. ดุษฎีปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปกร,ถ่ายเอกสาร.

ทรงพล เจริญคำ.(2552). รูปแบบ ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาศิลปากร.

นงลักษณ์ เรือนทอง.(2550). รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น

พัฒศ์ศิวพิศ โนรี. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศในสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.ภาควิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชัย เจริญพระธรรมดี. (2552). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต1. ภาควิชาการบริหารการศึกษา สถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

ศศกร ไชยคำหาญ. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศรีวรรณ เกียรติสุรนนท์. (2551). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรเอกชนจังหวัดศรีสะเกษ. ดุษฎีปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สมนึก ภัททิยธนี. (2541). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2542). เอกสารทางวิชาการการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน.เอกสารลำดับที่ 33. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

สุขวิต รังสิตพล. (2541). บรรยายเรื่องนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ.ณ โรงแรมสีหราช จังหวัดอุตรดิตถ์.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและการปฏิบัติ. เชียงราย : สถาบันราชภัฎเชียงราย.

สุสุรัฐ ศิลปอนันต์. (2545). กระบวนการปฏิรูปโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และที่แก้ไข. เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553.กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี.

Austin and Reynolds. (1990). I. Chester. The Functions of the Executive. Cambridge, Mass :Harward University Press.

Baskett, S. and Miklos. (1992). Perspectives of Effective Principals. The Canadian Administrator, 32 (1) : 1-9.

Fuller, Armand. (1991). Total Quality Control. (3rd ed). New York : McGraw – Hill.

Krejcie, R.V. Morgan, D.W.(1970,Autumn). Determining Sample size for Research Activities. in Educational and Psychological Measurement. Vol. 30 (No.3): pp 608-61.

Sergiovanni,Thomas. (1991). J “Ten Principles of Quality Leadership.”Educational Leadership.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite