การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่ม ผสมวิตามินของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

The effect of consumer's Integrated Marketing Communication on decision to purchase Vitamin water in Nakhon Ratchasima

ผู้แต่ง

  • นันทนัช สิงขรณ์, พรทิพย์ รอดพ้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ, การตัดสินใจซื้อ, ผู้บริโภค, เครื่องดื่มผสมวิตามิน

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมวิตามินของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ที่เคยบริโภคเครื่องดื่มผสมวิตามินอย่างน้อย 1 ครั้งและอายุ 20 ปีขึ้นไป และอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาจำนวน 396 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมุติฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ ด้านการโฆษณา ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการตลาดเชิงกิจกรรม ส่งผลทางบวกต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมวิตามินของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ในทางตรงกันข้ามการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ ด้านการประชาสัมพันธ์และด้านการตลาดทางตรง ส่งผลทางลบต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมวิตามินของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ทั้งนี้การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการสามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมวิตามินของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ได้ร้อยละ 61.5

References

กุลณี อิศดิศัย.(2561).เทรนด์สุขภาพมาแรง คนเมืองยุคใหม่ตั้งเป้าชีวิตดีมีสุข. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/4405/.

กรุงศรีเพลินเพลิน.(2563). เทรนด์ธุรกิจแบบ Health Focusที่มาแรงในปี 2020. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/health-focus-business.

คเชนทร์ ห้วยหงษ์ทอง. (2560).การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ แรงจูงใจและการใส่ใจสุขภาพที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารจากฟู้ดทรัคของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชญรรค์กร ทิพย์มณี. (2559).การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภค ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ.สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน.ขอนแก่น : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มิดัส พีอาร์.(2565). พฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทยเปลี่ยนไป ฮาคูโฮโด ชวนส่องเทรนด์การ

ดูแลสุขภาพ หลังวิกฤติ “โควิด-19”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:

https://www.thaipr.net/health/3193140

ทีซีไอเจ. (2563).มูลค่าตลาด 'น้ำดื่มผสมวิตามิน' ปี 63 สูง 5.5 พันล้าน คาดปี64 พุ่ง 6-7 พันล้าน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://www.tcijthai.com/news/2020/12/scoop/11263

บุศราคัม เพชรจำรัส (2561).ปัจจัยด้านการตลาดเชิงบูรณาการ (IMC) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟสตาบัคส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปัญชลี สังขรัตน์ (2554). การรับข้อมูลจากการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ และรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิรานนท์ ตุ้มสูงเนิน และ สุมาลี สว่าง. (2565).การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มวิตามินซี C-Vittของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. คณะบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศรีกัญญา มงคลศิริ.(2547). Brand management. กรุงเทพฯ: Higher Press

โสภา พิมพ์สิริพานิชย์. (2562). Branding & Marketing Shortcut. กรุงเทพฯ: ยูทูมอร์โรว์

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory. (2nd Ed.). New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite