ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Administration and Sustainable Development Affecting the Life Quality of People in Nakhon Ratchasima Province

ผู้แต่ง

  • พิชญรดา พันธุ์ธร, ภมร ขันธะหัตถ์, ธนิศร ยืนยง นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, การมีส่วนร่วมของประชาชน, การพัฒนาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2)วิเคราะห์ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. การพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ การร่วมตัดสินใจ การร่วมในการประเมินผล การร่วมรับผลประโยชน์ และการร่วมปฏิบัติงาน ตามลำดับ

          2. ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3. ควรส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นตามความต้องการของประชาชนเพราะประชาชนจะเป็นผู้ที่ทราบถึงปัญหาและส่วนที่ต้องการพัฒนาอย่างแท้จริง

References

เกศสุดา โภคานิตย์ และ กีฬา หนูยศ.(2561).บทบาทผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่นกรณีศึกษานายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร5 (ฉบับพิเศษ),64-76

ดิเรก ฤกษ์สาหร่าย. (2561). การพัฒนาชนบท : เป็นหลักการพัฒนาสังคมและแนวความคิดจําเป็นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิเชษฐ์ภู่เฉลิมตระกูล และคณธ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี. สมุทรปราการ: สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ

วราภรณ์ ปานะพิพัฒน์.(2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 13(1),340-357

สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. เอกสารการประชุมนโยบายจังหวัด.

สำนักงานบริหารการทะเบียน.(2564).รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ.2564. กรมการปกครอง สำนักงานบริการการทะเบียน

Best, J. W. (1981). Research in education. Englewood Cliff, NJ: Prentice Hall.

Cohen, John M. and Uphoff, Norman T. (1977). Rural Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. In Rural Development Monograph No. 2 The Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University, January.

Heim.C.Z. (1968). The Economics of Co-operative Enterprise. London : University of London Press.

Kouzes, J. M. & Posner, B. Z. (1993). The leadership challenge : How to get extraordinary things done in organizations. San Francisco: Jossey.

Miniclier, Louis. (1956, December). Community Development Defined. The Community Development Review of I.C.A. 3.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third Edition. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

เอี๊ยบศิริเมธี ป. (2023). ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา: Administration and Sustainable Development Affecting the Life Quality of People in Nakhon Ratchasima Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 332–346. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/266146