ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 3

Relationship Between Academic Leadership of School Administrators and Teamwork Performance of Teachers in Schools Under Nakhon Ratchasima Primary Educational Service Area Office 3

ผู้แต่ง

  • ศุรางค์รัฐปรัชญา ปะตาทะยัง นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • อรณิชชา ทศตา อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิรัลพัชร วงศ์วัฒน์เกษม อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 (2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 3 จำนวน 335 คน การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิโดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปเครซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.983 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเป็นรายด้าน ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
          2. ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเป็นรายด้าน ทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
          3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 3 มีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กมลนิตย์ วิลัยแลง. (2559). ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

กรรณิการ์ ประดิษฐ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

กัญญารัตน์ ธนะสีลังกูร. (2556). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

กาญจนา ช้างเยาว์. (2561). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนระยองวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

เกตุสุดา กิ้งการจร. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 สระบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการทำวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญพา พรหมณะ. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2555). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : เจริญผล.

ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research). (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 3. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. ฝ่ายงานแผนและนโยบาย : นครราชสีมา.

สุนันทา เลาหนันทน์. (2549). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ : แฮนด์เมคสติกเกอร์แอนด์ดีไซน์.

อรุณวดี รื่นรมย์. (2553). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนระยองวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika,16 (3), 297-334.

Dyer, W.G. (1995). Team building : Current Issues and New Alternatives. New York : Addison-Wesley.

Glickman, C. D. ( 2007). Super Vision and instructional leadership: A developmental approach. (7th th). Boston: Pearson.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York : Wiley & Son.

Parker, G. M. (1990). Teamplayers and team work: The new competitive business strategy. San Francisco, Calif: Jossey-Bass.

Woodcock, M. (1989). Team Development Manual. Great Britain : Gower Publishing

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite