การพัฒนาผู้เรียนจากการใช้วิธีการสอนคำศัพท์โดยยึดภาระงานระดับอาชีวศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

Learners Development Using Vocabulary Task-based Teaching Methods Based on Vocational Levelin Kalasin College of Dramatic Arts

ผู้แต่ง

  • ทยิดา พลยิ่ง อาจารย์ ภาควิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาภาษาต่างประเทศ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ, การสอนโดยยึดภาระงาน , การสอนระดับอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการพัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียนระดับอาชีวศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ 2) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างก่อนและหลังเรียนจากการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการสอนคำศัพท์โดยยึดภาระงาน ประชากร คือ นักเรียนระดับอาชีวศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ทั้งหมด 3 ห้อง มีจำนวน 81 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจงจากนักเรียนที่มีครูภาษาต่างประเทศเป็นครูที่ปรึกษาคือนักเรียนห้อง 3/3ซึ่งปีการศึกษา 1/2565  มีจำนวน 29 คน และมีผู้สมัครใจเข้าร่วม 24 คนเครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แผนการสอน 2) ฉลากคำศัพท์ 3) เอกสารประกอบการอ่านคำศัพท์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านคำศัพท์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา  ค่าความยากง่าย  ค่าอำนาจจำแนก และค่าที (Paired Samples t-test)

          ผลวิจัยพบว่า

          1. ด้านวิธีการพัฒนาคำศัพท์แก่ผู้เรียนในระดับอาชีวศึกษาเพื่อให้นักเรียนสนใจในการฝึกพัฒนาคำศัพท์ด้วยวิธีจับฉลาก และอ่านเอกสาร จากการฝึกปฏิบัติซ้ำ ๆ สามารถเพิ่มพูนทักษะด้านคำศัพท์ได้เป็นอย่างดี

          2. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีผลการเรียนอยู่ในระดับดีมาก จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 33.34 ระดับดี จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 45.83 ระดับพอใช้ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 16.66 ระดับปรับปรุง จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 25

          3. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยทางสถิติ .05

References

ทยิดา พลยิ่ง , และ ธีรภัทร วิชยพงศ์ . (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภาระงานในการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโคกหินเหล็กไฟ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, หน้า 58-65 .

ทยิดา พลยิ่ง. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์โดยการยึดสื่อดิจิตอลวิดีทัศน์เป็นภาระงาน (DVM-TBL)ในสถานการณ์ Covid-19 ระบาด. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์,16, (2) หน้า 87-98.

นริสา กัลยา. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เกม. จังหวัดขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม . (2562). หลักสูตรนาฏดุริยางคศิลป์ . อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม . เข้าถึงได้จาก https://www.bpi.ac.th/upload/media/2022/06/898862a17ee0b8fd0.pdf

หมวดวิชาภาษาต่างประเทศ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์. (2565). รายงานผลการทดสอบทักษะการสื่อสาร วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ CDAKS Language test level. จ. กาฬสินธุ์: วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์.

อภัทรลิน พลยิ่ง, และ สมโภชน์ พนาวาส. (2558). การใช้ภาระงานในการสอนด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน”ครั้งที่ 2(หน้า 318-327). จ.นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

Ellis , R. (2003). Task-based language learing and teaching. New York : Oxford .

Willis, J. (1996). A Framework for Task-Based Learning. Harlow: Longman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite