รูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของบุคลากรมหาวิทยาลัยในจังหวัดสมุทรปราการ

Model of Corporate Social Responsibility Affecting Loyalty of University Personnel in Samut Prakan Province

ผู้แต่ง

  • วัชรีพร พวงเพชร อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • วิสนุ สาตร์เพ็ชร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ
  • มาลีรัชต์ ฉานสูงเนิน เจ้าหน้าที่งานวิทยบริการ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบต่อสังคม, ความจงรักภักดี, จังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรมหาวิทยาลัยในจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษารูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมมีส่งต่อความจงรักภักดีของบุคลากรมหาวิทยาลัยในจังหวัดสมุทรปราการ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรมหาวิทยาลัยในจังหวัดสมุทรปราการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งสิ้น 2,200 คน กลุ่มตัวอย่าง  จำนวน 338 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตามสูตรของทาโร่  ยามาเน่ แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ไดแก ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน  

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ความรับผิดชอบต่อสังคมของบุคลากรในมหาวิทยาลัยจังหวัดสมุทรปราการ โดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความรับผิดชอบด้านสาธารณะ ความรับผิดชอบทางด้านเศรษฐศาสตร์ ความรับผิดชอบด้านจริยธรรม และ ความรับผิดชอบด้านจริยธรรมและกฎหมาย

          2. ปัจจัยด้านความรับผิดชอบทางด้านต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยความรับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบด้านศีลธรรมและกฎหมาย และปัจจัยด้านความรับผิดชอบด้านจริยธรรม  มีผลต่อปัจจัยความรับผิดชอบต่อสังคมของของบุคลากรมหาวิทยาลัยในจังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05

References

จิรภัทร์ จันทร์เรืองเพ็ญ. (2560). การดำเนินงานกิจกรรมสาธารณะของบริษัท เทเลคอมเอเชียคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน). วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร/วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน/มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์

จูน วิเศษณัฐ. (2560). การศึกษาความเชื่อมโยงระหว่งการทำ Corporate Social Responsibility(CSR) ขององค์กรและกลยุทธ์องค์กร การศึกษาค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บริษัท ทัชวู๊ด ฟอร์เรสตรี้ จำกัด. (2553.). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร. http://www.touchwood.com/TH/corporate-profile.html

เบอร์ลี่ย์-คล๊าค ไทยแลนด์. (2553). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร. http://www.kimberly-clark.com/thailand/thai/sustainability.ht.

สิริพร มูลเมือง. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและวิจัย. 3(1), 29-40.

David Keith. (1989). Human Behavior at Work : Organizational Behavior. New York : McGraw – Hill Book Company.

Huse, E.F., and Cummings, T.G. (1985). Organizational Development and Change. St.Paul, Minn : West.

Reichheld, F.F. (2010). The Loyalty Effect: The Hidden Force behind Growth, Profits, and Lasting Value,. Havard Business School Press, Boston, MA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

พวงเพชร ว., สาตร์เพ็ชร์ ว. . ., & ฉานสูงเนิน ม. (2023). รูปแบบความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของบุคลากรมหาวิทยาลัยในจังหวัดสมุทรปราการ: Model of Corporate Social Responsibility Affecting Loyalty of University Personnel in Samut Prakan Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 397–413. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/265808