ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรใน บริษัท นาคา จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ
Relationship Between The Meeting Participants in Case of Questions to Matt’s Organization in NAKA Co,Ltd, Samutprakarn
คำสำคัญ:
แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน, ความผูกพันของบุคลากร, ของบุคลากร บริษัทนาคา จังหวัดสมุทรปราการบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร 2)เพื่อศึกษาระดับความผูกพันของบุคลากรของบริษัทนาคาจังหวัดสมุทรปราการ 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในบริษัท นาคา จำกัด จังหวัดสมุทรปราการประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลาการของบริษัทนาคาจังหวัดสมุทรปราการทุกคนจำนวน148คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.05 แล้วนำมาเก็บรวบรวมสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษาพบว่า
1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในภาพรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับสูงโดยด้านสภาพการปฏิบัติงานเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดรองลงมาได้แก่ด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานและด้านค่าจ้างและค่าตอบแทนส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน
2. ความผูกพันต่อบริษัทของบุคลากรในภาพรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับสูงโดยพบว่าด้านความเกี่ยวพันกับบริษัทมีความผูกพันต่อบริษัทมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดรองลงมาได้แก่ด้านความภักดีต่อบริษัทและด้านการแสดงตนเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
3. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในบริษัท นาคา จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ความสัมพันธ์ทางบวกต่อความผูกพันต่อบริษัทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านค่าจ้างและค่าตอบแทนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อ บริษัท มากที่สุด
References
กุสุมาจ้อยช้างเนียม. (2562). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานสำนักงานใหญ่ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เกรียงศักดิ์เขียวยิ่ง. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์.กรุงเทพฯ : คลังนานาวิทยา.
ชนิภางามวิจิตวงศ์. (2561). ความพึงพอใจในการทำงานและพฤติกรรมการทำงานของพนักงานบริษัทเอ็น.วาย.ชูการ์จำกัด.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชุติมณน์ยอดมงคล. (2561). ปัจจัยจูงใจในการทำงานของพนักงาน: บริษัท แอดวานซ์คอนแท็คเซ็นเตอร์จำกัด.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ชูศรีวงษ์รัตน์. (2562). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราโมทย์ดวงเลขา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารนครหลวงไทยจำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ปาริชาติ บัวเป็ง. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทไดกิ้นอินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด. ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปรียาพรวงศ์อนุตรโรจน์. (2559). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ :ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.
ปิยะฉัตรสุวิทย์ศักดานนท์. (2549). ปัจจัยจูงใจในการทำงานของพนักงานบริษัทนิ่มซี่เส็งลิสซิ่งจำกัด.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มัธรินทร์สำเนียงดี. (2548).ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในบริษัท โอกิ พรีซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัตนาอัตภูมิสุวรรณ์. (2547). องค์การและการจัดการ.กรุงเทพฯ : วี.เจ. พริ้นติ้ง.
วัฒนาศรีสม. (2562).แรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานส่งเสริมการขายสินค้าอุปโภคบริโภคของบริษัทไบโอคอนซูเมอร์จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อภิรัตน์ชื่นกลิ่น. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตภัณฑ์คอนกรีตและวัสดุก่อสร้างจำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. 2nd ed. New York : John Wiley and Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์