ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร

Digital Leadership of School Administrators in Bangkok Metropolitan Administration School

ผู้แต่ง

  • สุนทราภรณ์ อินอ่อน นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • กรองทิพย์ นาควิเชตร อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • วิภาส ทองสุทธิ์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและเปรียบเทียบการรับรู้ของครูที่มีต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และขนาดของสถานศึกษา และศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มที่เป็นตัวอย่างคือ ครู จำนวน 375 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่าของความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าของความเชื่อมั่นที่ 0.971 สถิติที่ใช้วิเคราะห์การวิจัย คือ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน

          2. ผลเปรียบเทียบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา และตำแหน่งต่างกัน มีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์กับบุคลากร ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารผ่านระบบการทำงานเทคโนโลยีดิจิทัล จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาบูรณาการกับหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีตรงกับความต้องการ อีกทั้งสร้างความตระหนักในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี พ.ศ. 2563 – 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร.

ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

มูฮำหมัดรุซลัน ลือบากะลูติง. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถนศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ และคณะ. (2559). การศึกษาอิสระ Independent Studies.กรุงเทพมหานคร : มิตรภาพการพิมพ์และสตูดิโอ.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2565). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปี พ.ศ. 2565 สำนักการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักการศึกษา.

______. (2565). รายงานสถิติการศึกษาปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สำนักการศึกษา.

______. (2565). ระบบการบริหารการจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา (SAR ONLINE). สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2565. จาก https://saronline.bangkok.go.th/web/portal.htm?mode=index.

สินีนาฏ จิระพรพาณิชย์. (2563). “ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคดิจิทัล ตามความคิดเห็นของครู ในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี” วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(33) : 256-262.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีรัตน์ รอดพ้น. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อภิวิชญ์ สนลอย. (2565). “ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร” วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(1) : 89-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-29

How to Cite

อินอ่อน ส. . ., นาควิเชตร ก. . ., & ทองสุทธิ์ ว. (2023). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร: Digital Leadership of School Administrators in Bangkok Metropolitan Administration School. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 256–271. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/265668