ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทาน
Factors Affecting the Operational Effectiveness of the Medium Water Resources Development Division under the Irrigation Department’s Water Resources Development Strategy
คำสำคัญ:
ปัจจัย, ประสิทธิผล, กองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางบทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทาน (2) ระดับประสิทธิผลการดำเนินงานของกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทาน และ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือ เจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 1-16 จำนวน 283 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 1-16 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นชนิดการสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเลือกเข้า
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการดำเนินงานของกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทาน ภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทาน สามารถพยากรณ์การประสิทธิผลได้ ร้อยละ 75.90
References
กรมชลประทาน. (2562). ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ. 2560 –2579). กรุงเทพฯ: กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เครือพันธุ์ บุกบุญ. (2559). การพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานการตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน แบบเสริมพลังของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
ชยุต จิตธำรงสุนทร. (2558). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอำเภอเชียงของ ในฐานะอำเภอ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วินัย นามราช, เกษมชาติ นเรศเสนีย์ และบุญเลิศ ไพรินทร์. (2558). ประสิทธิผลการบริหารจัดการมาตรฐานงานพิสูจน์หลักฐานของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4. Vol 8 No 2 (2558): May - August 2015.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Madanat, H. G., & Anis,S. K. (2017). Impact of total quality management implementation on effectiveness of human resource management in the jordanian banking sector from employee’s perspective. Academy of Strategic Management Journal, 16(1), 114-148.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์