ผลการใช้วิธีสอนแบบ OK5R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความ และเจตคติต่อวิธีสอนแบบ OK5R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จังหวัดระยอง

The Effects of Using OK5R Teaching Method on Reading Comprehension Ability and Attitude towards the Teaching Method of Grade 7 Students in Schools under the Secondary Education Service Area Office Chon Buri Rayong, Rayong Province

ผู้แต่ง

  • ณิศชญามณฑ์ ศรีถนอมวงศ์ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุวรรณี ยหะกร (รองศาสตราจารย์ ดร.) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • อภิรักษ์ อนะมาน (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

วิธีสอนแบบ OK5R, การอ่านจับใจความ, เจตคติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ OK5R กับวิธีสอนแบบปกติ 2) ศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิธีสอนแบบ OK5Rเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1)แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ OK5R 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปกติ 3) แบบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ 4) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิธีสอนแบบ OK5Rนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จำนวน 6,237 คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในจังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 54 คนวิธีการสุ่มตัวอย่างสุ่มแบบหลายขั้นตอนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ OK5R สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          2. เจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิธีสอนแบบ OK5Rโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

ประไพ บุตรไชย. (2560). ผลการใช้วิธีการสอนแบบ OK5R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความสําคัญและความพึงพอใจต่อวิธีการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสะพานเลือกวิทยาคม จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ปิยวรรณ บุญฤทธิ์. (2561). ผลการใช้วิธีสอนอ่านแบบ OK5R ร่วมกับนิทานพื้นบ้านจังหวัดพัทลุงที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดนางลาด จังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ศิรินทร์ทิพย์ ถานะกอง. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยวิธีสอนแบบ OK5R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, เชียงราย.

ศิริพร ลี้รชตาสุวรรณ. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทยด้วยวิธีอ่านแบบโอเคไฟว์อาร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสันกำแพง. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิวิภา ชูเรือง. (2550). การศึกษาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยและความพึงพอใจต่อวิธีการสอนแบบ OK5R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร :เอ็ดดูเคชั่น.

Pauk, Walter. (1984). How to Study in College. New York: Houghton Mifflin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

ศรีถนอมวงศ์ ณ., ยหะกร ส., & อนะมาน อ. (2023). ผลการใช้วิธีสอนแบบ OK5R ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความ และเจตคติต่อวิธีสอนแบบ OK5R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง จังหวัดระยอง: The Effects of Using OK5R Teaching Method on Reading Comprehension Ability and Attitude towards the Teaching Method of Grade 7 Students in Schools under the Secondary Education Service Area Office Chon Buri Rayong, Rayong Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 13–24. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/264647