ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาบาสเก็ตบอลโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ที จี ที ของนักศึกษาปี 1 วิทยาลัยฉงจั่วเพื่อการศึกษาปฐมวัย
Learning Achievement and Satisfaction on Learning Basketball Using the Cooperative Learning with TGT Technique of Year 1 Students of Chongzuo College for Preschool Education
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, บาสเก็ตบอล, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบาสเก็ตบอลก่อนและหลังการเรียนโดยใช้การจัดเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบาสเก็ตบอลกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนวิชาบาสเก็ตบอลโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน วิทยาลัยฉงจั่วเพื่อการศึกษาปฐมวัย ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT เรื่องการชู๊ตลูกบาสเก็ตบอล 2 ) แบบวัดความสามารถในการชู๊ตลูกบาสเก็ตบอล มีค่า IOC ระหว่าง 0.60 - 1.00 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนวิชาบาสเก็ตบอล โดยใช้การจัดเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่า IOC ระหว่าง 0.60 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t - test).
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบาสเก็ตบอลหลังการเรียนโดยใช้การจัดเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาบาสเก็ตบอลหลังการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาบาสเก็ตบอลโดยใช้การจัดเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ในระดับ มากที่สุด (= 4.53)
References
Adams, D.N. & Hamm, M.E. (1990).Cooperative learning-critical thinking and collaboration across the curriculum. Springfield, il: Charles Thomas.
BoonchomSrisaat. (2002). Preliminary research. 7th printing, Bangkok:Suwiriyasasana
ChaiwatSuthirat.(2015). 80 innovations in learning management that focuses on learners. 6th printing Bangkok: Danex Inter Corporation.
ChanpenChuapanich. (1999). Scientific Concepts: Fundamental Processes in Research. Thai Wattanapanich: Bangkok.
Kanchana Arun Sukrujee. (2003). Satisfaction of cooperative members towards cooperative operations.Chaiprakarn Agriculture Co., Ltd. Chaiprakarn District, Chiang Mai Province. Graduate School, Agricultural Extension,
Graduate School, Chiang Mai University.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative learning: Theory, research, and practice. Boston:Allyn & Bacon.
SoisonSakonrak.(2017).Collection of articles on teaching and research at the secondary school level.Bangkok: Publishing House of Chulalongkorn University. 69-83.
TawatWeerasiriwat. (1994). Sports Medicine. Bangkok: Odeon Store.
ThitanaKhammanee. (2005).Pedagogical Sciences. 4th edition, Bangkok DanSuttha Printing Co., Ltd.
ThitiphanKodchakon. (2011).A study of achievement in social studies. And responsibilities of Mathayomsuksa 1 students who received collaborative learning management by using TGT technique and relational group
learning management. Secondary Education Srinakharinwirot University
WanwilaiPhakdeeruk.(2019). Eeffect of cooperative learning by TEAM-GAME-TOURNAMENT (TGT) and TEAM-ASSISTED INDIVIDUALIZATION in Volleyballfor secondary Grade 1. Thesis in Master of Education of
Graduate School of Srinakharinwirot University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์