การปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 และการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในจังหวัดชลบุรี

Operations on the Principles of Sangahavatthu 4 and New Public Management Affecting the Effectiveness of Subdistrict Municipalities in Chon Buri Province

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดสัมพันธ์พิพัฒน์ เลขนาวิน นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ภมร ขันธะหัตถ์ รองศาสตราจารย์ ดร., คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธนิศร ยืนยง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4, การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง การปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 และการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในจังหวัดชลบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์การปฏิบัติงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 และการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในจังหวัดชลบุรี และ (3) เสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของเทศบาลตำบลในจังหวัดชลบุรี เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 20 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. ระดับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านกระบวนการต่าง ๆ ด้านโครงสร้าง ด้านเทคโนโลยี ด้านวัฒนธรรม และด้านสภาพแวดล้อม ตามลำดับ

          2. หลักสังคหวัตถุ 4 พบว่า ด้านปิยวาจา ด้านสมานัตตตา ส่งผลต่อการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ด้านหลักความเสมอภาค ส่งผลต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบล ในจังหวัดชลบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05

          3. งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะให้นำคุณธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคนผูกใจคนและประสานหมู่ชนให้มีความสามัคคี มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาประสิทธิผลให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

References

ชนมณี ศิลานุกิจ.(2559).ประสิทธิผลการบริหารจัดการบุคลากรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2559).

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระธรรมปิฎก(ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2554). แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาและลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด กรุงเทพ มหานคร.

พระประทวน จนฺทสาโร (ศรีโยธี). (2558). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลแสนชาติ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด.

พระมหาธฤติ รุ่งชัยวิทูร. (2557). การพัฒนาประสิทธิภาพการทํางานเชิงพุทธ. สยามวิชาการ,15(2), 80-94.

มุทุดา แก่นสุวรรณ. (2561). แนวทางการบริหารจัดการที่ดีขององค์การบริหารส่วนตำบลกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (จังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร). ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating).กรุงเทพฯ : บริษัท พรีเมียร์ โปร จำกัด.

อาภรณ์ อ่อนคง. (2561).ประสิทธิผล. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://aporn123.blogspot.com/2013/ 06/blog-post_28.html.

อำนาจ เผือกบริสุทธิ์. (2560). หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนบางเสาธง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Gibson, J.H., John, M.I. & James H.D. (1982). Organizations: Behavior Structure andProcesses. (4thed.), Austin, TX: Business Publications.

__________. (2000). Organizations Behavior. (7th ed.). Boston: Irwin.

Jones, G. L. (2002). Organizational Theory, Design, and Change. (3rd ed.). Taxes: Pearson Education.

Moorhead, G. and Griffin, R.W. (2001).Organizational Behavior. Managing People and Organization. New York: Houghton Mifflin Company.

Taro Yamane (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd. New York.Harper and Row Publications.

WiratSanguanwongwan. (2008). Management and Organizational Behavior. Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite