นโยบายสาธารณะผ่านโครงการคนละครึ่งและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดปทุมธานี

Public Policy through Half-Half Co-Payment Scheme and Public Participation Affecting the Life Quality of People in Pathum Thani Province

ผู้แต่ง

  • กิตติ ยืนยง, ภมร ขันธะหัตถ์, ธนิศร ยืนยง นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะผ่านโครงการคนละครึ่ง, การมีส่วนร่วมของประชาชน, คุณภาพชีวิตของประชาชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี (2) เพื่อวิเคราะห์นโยบายสาธารณะผ่านโครงการคนละครึ่งและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนานโยบายสาธารณะกับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดปทุมธานี  กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 18 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. คุณภาพชีวิตของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านจิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านร่างกาย และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ตามลำดับ

          2. นโยบายสาธารณะผ่านโครงการคนละครึ่งและการมีส่วนร่วมของประชาชนพบว่า ด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่องและด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3. การพัฒนานโยบายสาธารณะกับคุณภาพชีวิตของประชาชนคือ มีการให้บริการอย่างครอบคลุมเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน และให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการประเมินผลนโยบายสาธารณะ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของประชาชน

References

โกศล สอดส่อง. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครพระนครศรีอยุธยา.วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 6(1), 162-175

กรมการปกครอง.(2563).การบริหารข้อมูล. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยสืบค้นจาก https://www.dopa.go.th/public_service/service1

พัชราภรณ์คนกล้า. (2547). คุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2550). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์.กรุงเทพฯ: บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด.

วาริณี เสาวภา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านฝาย อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์.รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพิษณุโลก, พิษณุโลก.

วิโรจน์ รูปดี. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแยกประเภทขยะของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์.สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้าร้อน จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มยุรี อนุมานราชธน. (2547). นโยบายสาธารณะ แนวคดิ กระบวนการและการวิเคราะห.เชียงใหม คะนึงนิจการพิมพ์.

สุฟ้าง แซ่หว่อง. (2554). การพัฒนารูปแบบการให้บริการคุณภาพแก่ประชาชนของเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปจาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Cohen, J.M., &Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.

Dye, Thomas R. (1984). Understanding Public Policy. (5th ed). Englewood Cliffs. New Jersey:Prentice -Hall, Inc.

Ferrel, B.R. (1995). The quality of lives: 1,525 voices of cancer. Oncology Nursing. 23(6).

Millet, John D. (1954). Management in the Public Service. New York: Mc Graw-Hill book.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.

WHOQOL. (1995). Measuring quality of life: The development of the World HealthOrganization quality of life instrument (WHOQOL). Geneva: World HealthOrganization.

World Health Organization. (1948). Basic documents: World Health Organization. Geneva, Swizerland: Department of Mental Health and Substance Dependence.

William Erwin. (1976). Participation Management : Concept Theory and Implementation. Atlanta G. : Georgia State University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite