ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายคุณภาพอัสสลาม
Factors Affecting Learners Quality in Assalam Smart Network School
คำสำคัญ:
ปัจจัย, คุณภาพผู้เรียน, โรงเรียนเครือข่ายคุณภาพอัสสลามบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพี่อศึกษาระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพผู้เรียน (2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพผู้เรียน และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายคุณภาพอัสสลาม เป็นวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ ประชากร ได้แก่ ครูอุสตาสที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนเครือข่ายคุณภาพอัสสลามจาก 50 โรงเรียนโดยมีครูอุสตาสทั้งหมด 3,537 คน มาคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการเปิดตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 359 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายคุณภาพอัสสลาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้บริหาร รองลงมาคือ ด้านงบประมาณ และด้านหลักสูตรการสอน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านความสัมพันธ์และความร่วมมือของชุมชน
2. ระดับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายคุณภาพอัสสลาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทักษะในการทำงานและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต รองลงมา คือ ด้านความรู้และทักษะที่จําเป็นตามหลักสูตร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านสุขภาวะและสุนทรียภาพ
3. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายคุณภาพอัสสลามทั้ง 5 ด้าน มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ .156 ส่วนคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายคุณภาพอัสสลาสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้
= a+ bx
= .501 +.258 +.215+.156
สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
Y = .315 +.225+.189
References
กนกกฤษณ์ รักษาพราหมณ์. (2550) การพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบแก่เด็กเร่ร่อน ในเขตกรุงเทพมหานคร . มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/กรุงเทพฯ. DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/TU.the.2007.653
จุฑาทิพย์ สุขสวัสดิ์. (2555). แนวทางการบริหารคนดี คนเก่งของสถานประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
บัญญัติ ทองสวัสดิ์. (2542). การมีส่วนร่วมในกระบวนการนำแผนปฏิบัติการประจำปีไปปฏิบัติตามการรับรู้ของครูและผู้บริหารโรงเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์). นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ถ่ายเอกสาร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประวิตา มีเปี่ยมสมบูรณ์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วารสารศรีนาลัยวิจัย, 3(6), 81-94.
พรทิพย์ สระบงกช. (2544). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพรัช อรรถกามานนท์. (2545). การส่งเสริมซุนชนและท้องถิ่นในการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ :
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2551) กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2551) กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545) รายงานการวิจัยเรื่อง ระบบการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ การอุดมศึกษา กรุงเทพฯ .สำนักพัฒนานโยบายและการวางแผนการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
อำรุง จันทวานิช และคณะ. (2546). แนวคิดและนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ : พื้นฐานการปฏิรูปการศึกษา เพื่อประชาชน. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม.
Gibson, C.H. (1993). A study of empowerment in mother of chronically. Michigan: Boston College.
Glickman, C. D. (1980) The developmental approach to supervision. Educational Leadeship, 38 (2), 178-180.
Hoy, Wayne K. and Miskel, Cecil G. (1991). Educational Administration : Theory Research and Practice. New York :
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Lunenburg, F.C. & Ornstein, A.C. (1996). Educational Administration : Concepts And Practices. (2 nd ed). Belmont : Wadsworth.
Owens, Robert G., and Valesky, Thomas C. (2007). Organizational Behavior in Education : Adaptive Leadership and School Reform. 9thed. London: Pearson Education, Inc.
Robert W. Langley. (2003). Intermediate School Principal. New York : John Wiley & Son. Sergiovanni, Thomas J.,Burlingame, Martin, Coombs, Fred S.,
Sammons, P., Hillman, J., & Mortimore, P. (1995). Key Characteristics of Effective Schools: A Review of School Effectiveness Research. Institute of Education, University of London: London.
Sergiovanni, T.J. & Starratt, R.J. (1991). Supervision : A Redefinition. (6 th ed). Boston : McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์