ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET

The Factors of Affecting Passenger Satisfaction with Thai Viet-Jet Air

ผู้แต่ง

  • พาริดา พรหมบุตร, ปารย์กัญจน์ วิจิตรสงวน, สุดสวาท จิตร์สุภา, พลอยวรินทร์ แสงสมบุญ อาจารย์ประจำสาขาอุตสาหกรรมการบริการการบิน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ผู้โดยสาร, สายการบิน THAI -VEIT JET, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้โดยสารในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET 2) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และพฤติกรรมของการใช้บริการสายการบิน ที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งเป็นการวิจัยที่ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้โดยสารในประเทศไทย ที่เคยใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET ณ ท่าอากาศยานสนามบินสุวรรณภูมิ และได้รับข้อมูลแบบสอบถามตอบกลับที่มีความสมบูรณ์จำนวน 404 คน

          ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ปัจจัยด้านบุคลากร (People) หรือพนักงาน (Employee) ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence and Presentation) และปัจจัยด้านกระบวนการ (Process) มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเรียงลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET จากมากไปน้อย โดยพิจารณาจากค่ามาตรฐานของสัมประสิทธิ์ถดถอย (Standardized Coefficient) พบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (Product) มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence and Presentation) และปัจจัยด้านบุคลากร ๖People) หรือพนักงาน (Employee)ในขณะที่ปัจจัยด้านกระบวนการ (Process) มีความสำคัญน้อยที่สุด ส่วนปัจจัยทางด้านการส่งเสริมทางการตลาด (Promotion) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และปัจจัยทางด้านราคา (Price) ไม่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET

          ในส่วนความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ สถานภาพสมรส ประสบการณ์ในการทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามที่มี เพศ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน จะมีความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET ไม่แตกต่างกัน

References

ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง.(2564).การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเทศบาลนครปากเกร็ด ประจำปี 2564, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐฐาเสวกวิหารี .(2560).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลรามาธิบดี.สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พสุ เดชะรินทร์.(2564).สายการบินSouthwest: ต้นแบบของLow Cost Airlines., Management Bibliotheca, shorturl.at/alm38, พฤษภาคม 2564.

รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย พ.ศ. 2564.(2564).CAAT สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย, shorturl.at/cehNO, 2564.

Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2001). Marketing (12thed.). Boston: McGraw-Hill.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, ImplementationandControl. (9thed.). New Jersey: Prentice – Hall.

Kotler, P., & Keller, K.L. (2012). Marketing management (14th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite

แสงสมบุญ พ. (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการสายการบิน THAI-VEIT JET: The Factors of Affecting Passenger Satisfaction with Thai Viet-Jet Air. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 201–217. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/264333