ความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเข้าสู่ตำแหน่งงานที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Commitment to Developcareer effect to accomplishment for having higher position of supportfield personnel Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi

ผู้แต่ง

  • รักเกียรติ โรจน์กัญญาพร อาจารย์สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ภิญญดา รื่นสุข อาจารย์สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • พงศกร เอี่ยมสะอาด อาจารย์สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณ
  • ธีรศักดิ์ ทรัพย์ประเสริฐ อาจารย์สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • มณฑาทิพย์ เดือนสุกแสง เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพ, ผลการสำเร็จบุคลากรสายสนับสนุน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จในการเข้าสู่ตำแหน่งงานที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน  2) เพื่อศึกษาปัจจัยความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพ ส่งผลต่อความสำเร็จในการเข้าสู่ตำแหน่งงานที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามในการเก็บรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จำนวน 200 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ 

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. ความสำเร็จในการเข้าสู่ตำแหน่งงานที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส และ สถานที่ปฎิบัติงาน ส่งผลต่อความสำเร็จในการเข้าสู่ตำแหน่งงานที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ยอมรับสมมติฐาน

          2. ความมุ่งมั่นในการพัฒนาสายอาชีพ ส่งผลต่อความสำเร็จในการเข้าสู่ตำแหน่งงานที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุนโดยมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าความมุ่งมั่นในการพัฒนาในอาชีพ ประกอบด้วย ด้านความรู้ความเข้าใจในงานที่ปฏิบัติ ด้านความรู้รับผิดชอบในตน และด้านการรับรู้ความสามารถของตน ส่งผลต่อความสำเร็จในการเข้าสู่ตำแหน่งงานสูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน  ยอมรับสมมติฐาน

References

ชลลดา ปัญญา. (2555). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ถาวร เส้งเอียดและคณะ. (2554). การศึกษา สภาพ ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดราชบุรีและสมุทรสงคราม.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นลพรรณ บุญฤทธิ์.(2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย จำกัด.

เพ็ญศรี ฉิรินัง. (2550).การพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย กรณีศึกษา เปรียบเทียบมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ . [ออนไลน์]สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2564 สืบค้นจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

รัชนีวรรณแจ้งคำขำ. (2548). ความเครียดในการฝึกบินของศิษย์การบินหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี-เครื่องบินของสถาบันการบินพลเรือน.วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วริษฐา วรราช (2549) การวางแผนพัฒนาเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของนักวิจัย กรณีศึกษาสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตโครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิบูลย์ พุทธวงศ์. (2555). การเปรียบเทียบความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพของข้าราชการกับพนักงาน. ค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริมา คชสังค์ (2544) การวางแผนการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของบริษัท ซิวเนชั่นแนลจำกัดกรุงเทพฯ ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตโครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Likert, Rensis. 1967. “The Method of Constructing and Attitude Scale”, Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.

Taro Yamane. (1970). Statistic: an Introductory Analysis. 2 nd ed. New York: Harper & Row

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite