การขับเคลื่อนธุรกิจประเภทอาหารสู่การขอรับรองมาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
Encouraging Food Business towards Food Standard Certification to Build Consumer Confidence
คำสำคัญ:
ธุรกิจอาหาร, การรับรองมาตรฐาน, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคบทคัดย่อ
การส่งเสริม และการพัฒนาผู้ประกอบการด้านอาหารให้เกิดศักยภาพ และมีความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน สามารถเข้าสู่การแข่งขันในตลาดที่หลากหลายมากขึ้นในปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่เป็นฐานรากให้เกิดความเข้มแข็ง ดังนั้นจังหวัดปทุมธานีจึงได้มีนโยบายขับเคลื่อนผู้ประกอบการธุรกิจประเภทอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานดำเนินงานขออนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานฯ 2) ดำเนินการจัดเวทีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และเตรียมความพร้อมในการขออนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์ โดยการจัดเป็นสถานีการเรียนรู้ประเภทผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และประสานงานวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “มาตรฐานผลิตภัณฑ์” จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี 3)จัดทำแผนปฏิบัติการลงพื้นที่ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา และให้คำแนะนำ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และ4) ดำเนินการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ผลิต และผู้ประกอบการ จากผลการดำเนินการส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมในการขอรับรองมาตรฐาน ด้วยกัน 2 ประการ คือ ประการแรก การบริหารเชิงนโยบาย 1) การสื่อสารข้อความ ควรมีการมอบหมาย 2) ทรัพยากร กำหนดทรัพยากรที่ต้องใช้ในการดำเนินโครงการ 3) ทัศนคติของผู้ปฏิบัติ และ 4) โครงสร้างของระบบราชการ ประการที่สอง การเตรียงความพร้อมในรูปแบบของการกำหนดภาพอนาคต 1) มุมมองต่อนาคต 2) การกำหนดนัยะต่อการวางแผน และ 3) การตัดสินใจร่วมกัน
จากข้อเสนอแนะดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานไม่เกิดความซับซ้อน ตลอดจนใช้งบประมาณ เวลา และกำลังคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเสนอเป็นแนวทางในการดำเนินการ คือ 1) การแสวงหาแหล่งงบประมาณ 2)การสำรวจความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อวางแผนการขับเคลื่น 3) การส่งเสริมองค์ความรู้ และพัฒนาศักยภาพกำลังคน และ 4) การจัดหาพันธมิตร และเครือข่ายร่วมพัฒนา
References
กลุ่มงานยุทธศาสตร์ และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด (2562). แผนพัฒนาจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2561-2565 ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ 2563. สำนักงานจังหวัดปทุมธานี.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์ และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2565 จังหวัดปทุมธานี. สำนักงานจังหวัดปทุมธานี.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์ และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด (2565). แผนพัฒนาจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2566 – 2570.สำนักงานจังหวัดปทุมธานี.
กลุ่มนโยบายและแผนงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี (2565). แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับจังหวัด พ.ศ. 2566-2570 จังหวัดปทุมธานี. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2550). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
นิธิวดี สมบูรณ์ (2565). SMECONNEXT เชื่อมคน เชื่อมเอสเอ็มอี เชื่อมโลก. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. Volume 4: February/April 2022.
พิมพ์นิภา หิรัณย์สร (2565).Food focus Thailand. June 2022 Vol.17 No.195
สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (IFI) (2562). เครื่องมือการมองอนาคต. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี.
สำนักงานคลังจังหวัดปทุมธานี (2565). รายงานปราณการเศรษฐกิจจังหวัดปทุมธานี ปี 2565. แหล่งที่มา https://www.cgd.g.th/ptt. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565.
สำนักงานคลังจังหวัดปทุมธานี (2565). รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังจังหวัดปทุมธานี ประจำเดือนเมษายน 2565. แหล่งที่มา http://ptt@cgd.go.th. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2565). SMECONNEXT เชื่อมคน เชื่อมเอสเอ็มอี เชื่อมโลก. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. Volume 5: May/July 2022.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์