ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และทัศนคติของผู้บริโภคส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย ในเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
The Marketing Mix Factors and Consumers Attitude Factors Affecting Shopping Online Decisions Of Undergraduate University Sutdents In Municipality Phra Nakhon Si Ayutthaya, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, ทัศนคติของผู้บริโภค, การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามในการเก็บรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2563 ที่ศึกษาในเขตเทศบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ โดยมีระดับความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งยอมรับสมมติฐาน
2. เพื่อศึกษาทัศนคติขอผู้บริโภคส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์โดยมีระดับความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ทัศนคติของผู้บริโภค ประกอบด้วยความน่าเชื่อถือของสังคมออนไลน์ การรับรู้คุณค่าตราสินค้า และความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งยอมรับสมมติฐาน
References
จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558) ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต พาณิชศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดนุสรณ์ อรัญสุคนธ์. (2558) การรับรู้คุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อความภัคดีต่อตราสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปิยมาภรณ์ ช่วยชูหนู. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางสังคมออนไลน์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต พาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace). การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต พาณิชศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรางคณา วายุภาพ. (2561). เปิดพฤติกรรมออนไลน์ 2018 คนไทยใช้เน็ตเพิ่ม 3 เท่า Baby Boomer. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: http://brandbuffet.in.th/tag/
อิสรีย์ อนันต์โชคปฐมา. (2558). เรื่อง ส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจซื้อสินค้าใน Line Giftshop. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต พาณิชศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิณัฐ เลิศพิชิตกุล. (2558). บรรพบทของความน่าเชื่อถือของร้านค้าออนไลน์และผู้บริโภคไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต พาณิชศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Taro Yamane. (1970). Statistic: an Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์