ปัจจัยการตัดสินใจซื้อหนังสือร้านซีเอ็ดบุ๊ค เซ็นเตอร์ ในห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต

Decision Factors for Buying Books at SE-ED Book Center in Future Park Rangsit Department Store

ผู้แต่ง

  • วริสรา สุกุมลจันทร์, อิศรา ศิรมณีรัตน์, ชลิต เชาว์วิไลย, สายฝน บูชา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

หนังสือ, การตัดสินใจเลือกซื้อ, ลูกค้า

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจซื้อหนังสือร้านซีเอ็ดบุ๊ค เซ็นเตอร์ ในห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต และหาแนวทางการตัดสินใจซื้อหนังสือจากร้านซีเอ็ดบุ๊ค เซ็นเตอร์ ในห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิตให้กับผู้บริโภค โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริโภคซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปทั้งชายและหญิงส่งผลที่มาซื้อหนังสือร้าน ซีเอ็ดบุ๊ค เซ็นเตอร์ ในห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต จำนวน 100 คน ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% โดยยอมรับคลาดเคลื่อน ±10 จากตารางทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-testและ f-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
          ผลวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปทางด้านประชากรศาสตร์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 68.0 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 32.0 ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21 - 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 77.0 ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 22.0 ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 68.0 ส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 - 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 39.0 สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อหนังสือมากที่สุด คือ ด้านลักษณะทางกายภาพ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 รองลงมา คือ ด้านสถานที่จัดจำหน่าย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ด้านบุคลากรมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 ด้านราคา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ด้านผลิตภัณฑ์ (ประเภทหนังสือ) มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.98 ด้านกระบวนการการให้บริการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 และด้านการส่งเสริมการตลาด มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.65 ผลการทดสอบสมมติฐาน สถิติ t-test และ f-test พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสือร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ในห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต

References

กันยา สกุลดี. (2551). พฤติกรรมผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านหนังสือในอำเภอหาดใหญ่. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เกรียงศักดิ์ วิวัฒนากันตัง. (2553). พฤติกรรมในการเลือกซื้อหนังสือในเขตเทศบาลเมืองพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

คันธวิทย์ บรรจง. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อหนังสือประเภทบันเทิงคดีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัญญานุช นคร และ คณะ. (2551). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อหนังสือร้าน Bookstore. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

นฤพรรณ ตั้งวานิชย์เจริญ. (2551). ปัจจัยความส าเร็จของร้านหนังสือประเภทเชนสโตร์กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นฤมล ชิตสกุล. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสือในเขตอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

พรเพ็ญ รุจิโพธิ์. (2550). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อหนังสือจากร้านจำหน่ายหนังสือ. มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฟิวเจอรพาร์ค รังสิต. (2562). [ออนไลน์] สืบค้นจาก https://www.futurepark.co.th/th/contactus/.

วาสนา พุทธมนต์พิทักษ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านหนังสือของผู้บริโภคในศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าปิ่นเกล้า. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, ศุภร เสรีรัตน์ และ องอาจ ปทะวานิช. (2541). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. Diamond in Business World.

สถาบันอุทยานการเรียนรู้. (2562, 27 พฤษภาคม). วิกฤตและทางรอดของร้านหนังสือ. TK park,

[ออนไลน์] สืบค้นจาก https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/418.

_______. (2562, 3 เมษายน). ผลส ารวจการอ่านของประชากร 2561. TK park, [ออนไลน์] สืบค้นจาก https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/407

สำนักงานอุทยานการเรียนรู้. (2562). เข็ม. หนังสือเล่ม"ยังไม่ตาย! ผลสำรวจชี้คนไทยยังอ่าน 88% โลก. (2562, 3 เมษายน). https://www.posttoday.com/economy/news/585450.

สุรังสี เกตุวิชิต. (2546). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อผู้ซื้อในการตัดสินใจเลือกร้านหนังสือ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัจฉรา ตารินทร์. (2547). ปัจจัยด้านการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านขายหนังสือของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนคร. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

BLT. (2562, 25 เมษายน). คนไทยยังรักการอ่าน พบสถิติการซื้อหนังสือติดอันดับ 4 ของโลก.

BLT Bangkok, [ออนไลน์] สืบค้น จ าก https://www.bltbangkok.com/bangkokupdate/4812.

Kotler, P. and Armstrong, G. (2005). Marketing: An Introduction. Pearson.

MGR Online. (2548, 25 มิถุนายน). ธุรกิจหนังสือ...BOOM แข่งแหลกทุกค่ายพิมพ์. ผู้จัดการออนไลน์, [ออนไลน์] สืบค้นจาก https://mgronline.com/business/detail/948000 0084560.

Positioning. (2562, 3 เมษายน). ผลส ารวจชี้ คนไทยอ่านหนังสือวันละ 80 นาที หนังสือเล่ม ไม่ตาย! แต่อ่านผ่านออนไลน์มากขึ้น. Positioning Magazine, [ออนไลน์] สืบค้นจาก https://positioning mag.com/1223380.

Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed.. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30

How to Cite

สุกุมลจันทร์ ว. . (2021). ปัจจัยการตัดสินใจซื้อหนังสือร้านซีเอ็ดบุ๊ค เซ็นเตอร์ ในห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต: Decision Factors for Buying Books at SE-ED Book Center in Future Park Rangsit Department Store. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(2), 249–261. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/263384